การพัฒนาเครื่องแต่งกาย Unisex ด้วยผ้าขาวม้าท้องถิ่นภาคกลางของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเครื่องแต่งกาย Unisex จากผ้าขาวม้าร้อยสี และศึกษาความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อเครื่องแต่งกาย Unisex จากผ้าขาวม้าร้อยสี ขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ระยะ 1) การเลือกใช้สีในการทำเครื่องแต่งกาย Unisex ใช้แนวโน้มสีปี 2024 สี Astro Dust 2) วัสดุที่ใช้ในการออกแบบเครื่องแต่งกาย Unisex ใช้ผ้าขาวม้าร้อยสีลายตาจักเป็นลายเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี 3) ออกแบบร่างเครื่องแต่งกาย Unisex จากแรงบันดาลใจแฟชั่น Y2K คือ เสื้อตัวหลวม และกางเกงทรงกระบอก คัดเลือกแบบร่างโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน 4) สร้างแบบตัดและตัดเย็บชุดต้นแบบ ขนาดตัวมาตรฐานสตรี ไซส์ M และ 5) สอบถามความพึงพอใจต่อเครื่องแต่งกาย Unisex จากผ้าขาวม้าร้อยสีแบบออนไลน์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากบุคคลทั่วไป จำนวน 120 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อเครื่องแต่งกาย Unisex จากผ้าขาวม้าร้อยสี ระดับพึงพอใจมากที่สุด ทั้ง 5 ชุด ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับชุด คือ อยากให้นำเสนอผ้าขาวม้าที่แตกต่างจากเดิมมากกว่าสีน้ำเงินและสีแดง การศึกษาครั้งต่อไปควรพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น เครื่องใช้ภาย ในบ้าน เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องแต่งกายสำหรับบุรุษ หรือของที่ระลึก เป็นต้น
Article Details
References
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2560). คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 7(1), 1-15.
ชยพล ทองสวัสดิ์. (2565, ตุลาคม 20). จากบริตนีย์ สเปียร์ส ถึง NewJeans เมื่อเทรนด์แฟชั่น Y2K กลับมาผงาดอีกครั้ง. https://themomentum.co/entertainment-y2k-fashion/.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2562). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย, ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนพร สมบูรณ์สิทธิ์. (2564, ตุลาคม 27). แฟชั่น ‘Y2K’ คืออะไร…ตอนนี้ใครๆ ก็พูดถึง.https://www.vogue.co.th/fashion/article/ysk-fashi.
บุณชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). สุวีริยาสาส์น.
พงศ์ธาดา กีรติเรขา. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์: กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าพื้นเมืองกำเนิดเพชร ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 7(3), 239-248.
พรทิพย์ กำเหนิดแจ้ง. (2555). การสร้างคุณค่า สู่มูลค่า “ผ้าขาวม้าร้อยสี ของดีบ้านหนองขาว” อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี, กลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี.
ภัชรกรณ์ โสตถิมาภรณ์ และพิชชาพร อรินทร์. (2565, กุมภาพันธ์ 27). “Unisex” มากกว่าแฟชั่นคือความเท่าเทียม. https://waymagazine.org/unisex-fashion/.
มุขสุดา ทองกำพร้า, อรอนงค์ วรรณวงษ์, เกศทิพย์ กรี่เงิน และอัชชา หัทยานานนท์. (2563). การออกแบบเสื้อผ้าชุดลำลองยูนิเซ็กส์จากผ้าพลีทสำหรับวัยรุ่น. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2(2), 84-96.
ศิริลักษณ์ บางจริง. (2566, เมษายน 10). “ผ้าขาวม้า” ผ้าสามัญประจำบ้าน. https://anurakmag.com/made-in-thailand/04/10/2023/loincloth-a-common-cloth-in-the-house/.
ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์. (2564, ธันวาคม 24). เมื่อวงการแฟชั่นส่งเสียงเรื่องความงามอันลื่นไหลและแฟชั่นไม่จำกัดเพศ. https://plus.thairath.co.th/topic/everydaylife/100872.
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย. (2562, มิถุนายน 13). สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย https://shorturl.asia/xgs8G
อารียา บุญทวี และจินดา เนื่องจำนงค์. (2565). การพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าในกลุ่มสตรีตัดเย็บบ้านนายาว อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารมนุษย์สังคมปริทัศน์ (มสป.), 24(1), 147-157.
Chen, Y. (2023, August 11). Exploring the Style of Korean Girl Group NewJeans in the Context of Contemporary Consumerism. https://doi.org/10.1051/shsconf/202317403024.
Coates, I., & Volpe, J. (2021, June 11). WGSN and Coloro announce the Key Colours for A/W 23/24. https://www.wgsn.com/en/wgsn/press/press-releases/wgsn-and-coloro-announce-key-colours-aw-2324.
Muang-krabi. (2559, ตุลาคม 3). “ผ้าขาวม้าร้อยสี” สะท้อนความสามัคคีของชุมชนหนอขาว. https://district.cdd.go.th/district-2/2016/10/03/ผ้าขาวม้าร้อยสี.