แนวทางสู่ความสำเร็จในการแข่งขันแกะสลักผักและผลไม้ระดับประเทศ: บทเรียนจากผู้ชนะเลิศงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศปี 2567

Main Article Content

ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ
เสริมศรี สงเนียม
อัครพล ไวเชียงค้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิทยาปรากฏการณ์วิทยา เพื่อศึกษาแนวทางความสำเร็จของการเป็นผู้ชนะเลิศ สภาพปัญหาและอุปสรรคของการประกวดแข่งขันแกะสลักผักและผลไม้ระดับประเทศ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้แข่งขันที่ชนะเลิศการประกวดแกะสลักผักและผลไม้ ประถมศึกษาตอนปลายปีที่ 4-6 มัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1-3 มัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 4-6 ครูผู้ควบคุมการฝึกซ้อม ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 16 คน โดยการสัมภาษณ์และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า แนวทาง สู่ความสำเร็จการเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันแกะสลักผักและผลไม้ระดับประเทศ ได้แก่ การวางแผนของผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรในโรงเรียน กระบวนการคัดเลือกนักเรียน การวางแผนการฝึกซ้อมสำหรับการแข่งขัน กระบวนการฝึกซ้อม แนวคิดการสร้างสรรค์จัดตกแต่ง การแข่งขันจริง การสรุป และสภาพปัญหาและอุปสรรคของการประกวดแข่งขันแกะสลักผักและผลไม้ ได้แก่ ตัวบุคคล วัตถุดิบ สถานที่การแข่งขัน งบประมาณค่าใช้จ่าย และการประสานงาน

Article Details

How to Cite
หงส์รัตนาวรกิจ ศ., สงเนียม เ., & ไวเชียงค้า อ. . (2025). แนวทางสู่ความสำเร็จในการแข่งขันแกะสลักผักและผลไม้ระดับประเทศ: บทเรียนจากผู้ชนะเลิศงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศปี 2567. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 7(1), 1–15. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/5239
บท
บทความวิจัย
Author Biography

ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

-

References

กฤตยากร ลดาวัลย์. (2563). การจัดการศึกษาท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(4), 209-216.

กุลนาถ ชินโคตร. (2561). การจัดการการแข่งขันนาฏศิลป์ไทยระดับนานาชาติ: รายการการแสดงพื้นบ้าน IDA China Shenzhen International Dance Festival 2017. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 5(2), 140-149.

ณัฐวุฒิ สมบูรณ์ทวี และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). เรื่องเล่าอัตชีวประวัติของความสำเร็จในการเป็นนวัตกรรมส่วนบุคคล. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 149-160.

ตระกูล จิตวัฒนากร, นันทนา ชวศิริกุลฑล, นพพงศ์ เกิดเงิน และจำเนียร จวงตระกูล. (2567). การตรวจสอบแบบสามเส้าด้านนักวิจัย: กลยุทธ์เพื่อสร้างความเชื่อถือได้ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 18(3), 521- 532.

ทรงสมร สวนจันทร์ และวาสินี วิเศษฤทธิ์. (2560). ประสบการณ์การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติ การพยาบาลขั้นสูง. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(1), 117-127.

เทศบาลนครเชียงราย. (2567, ตุลาคม 1). หลักเกณฑ์การประกวดแข่งขันทักษะวิชาการ ระดับประเทศ ครั้งที่ 13 ประจําปี 2567. https://drive.google.com/file/d/1cpwPub6x8zo53-nH1mCeALvEyDAwE-bg/view.

บุลากร สมไสย และสุวิทย์ วิชัด. (2566). การเตรียมวงโปงลางเข้าประกวด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(1), 85-97.

ภารดี ศรีลัด. (2560). สภาพและปัญหาการเตรียมทีมนักกีฬาของโรงเรียนสาธิตที่สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 33. วารสารครุศาสตร์, 45(1), 156-175.

ศศิรดา แพงไทย, พัชรินทร์ อุทัยฉัตร, ประคอง พลสิทธิ์, สมาน ประวันโต และประมวล อุ่นเรือน. (2564). ความต้องการจําเป็นของการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 756-765.

ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ. (2566). การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน: วิเคราะห์หลักเกณฑ์การแข่งขันแกะสลัก ผักและผลไม้. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 24(46), 42-55.

ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ และอัครพล ไวเชียงค้า. (2565). เจตคติต่อการอนุรักษ์งานแกะสลักผักและผลไม้ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 4(1), 1-10.

สาธิต เพ็ชร์งาม และณฐภรณ์ รัตนชัยวงศ์. (2567). การสร้างสรรค์การแสดงเพื่อการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา. วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 15(1), 101-122.

อภิวัฒน์ สุริยศ. (2566). การถอดบทเรียนในการฝึกซ้อมวงดุริยางค์เครื่องลมสำหรับการเข้าประกวด ในระดับมัธยมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(12), 60-72.

อรัญญา ปลดเปลื้อง. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปรากฏการณ์วิทยา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(2), 2-9.