ผ้าหม้อห้อมเมืองแพร่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับบริบทสังคมปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ห้อม พันธุ์ไม้ท้องถิ่นจังหวัดแพร่ พบเห็นต้นห้อมขึ้นเองได้ทั่วไปทั้งจังหวัด แต่ที่มีการปลูกกันมากในชุมชนพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เช่น บ้านนาตอง บ้านนาคูหา ในอดีตจนถึงปัจจุบันนิยมใช้ห้อมเป็นยารักษาโรคและย้อมสีสิ่งทอ กลุ่มชาวไทยพวนในแถบบ้านทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ เป็นต้นกาเนิดของการนำมาย้อมผ้า โดยใช้หม้อเป็นภาชนะสาหรับบรรจุน้าย้อม จึงเป็นที่มาของการเรียกว่า ผ้าหม้อห้อม กระบวนการย้อมผ้าของชาวบ้านจะเริ่มจากการนำลำต้นและใบของห้อมมาหมักในน้าให้เป็นสีน้าเงินเข้ม ฟ้าเข้ม แล้วซวกหรือตาเพื่อสกัดสีจนน้าสีจากห้อมมี ความข้น จึงนำมาใช้ในการย้อมผ้าหรือที่เรียกว่าการก่อห้อม โดยจะมีการผสมน้ำด่างเพื่อช่วยในการยึดติดสีของห้อมบนเส้นด้ายก่อนนำไปทอเป็นผืนผ้า ด้วยขั้นตอนกระบวนการสกัดสีหรือก่อห้อมนั้นไม่มีวิธีการที่แน่นอน มีความซับซ้อนยุ่งยาก และยังต้องอาศัยความชำนาญความสามารถเฉพาะตัวของผู้ย้อม จึงมีส่วนทำให้มีการสืบทอดการทำผ้าหม้อห้อมที่ใช้สีย้อมจากธรรมชาติมีน้อยลง การย้อมผ้าด้วยสีห้อมจากธรรมชาติต้องใช้เวลานาน จึงทำให้ผ้าหม้อห้อมจึงมีราคาค่อนข้างสูงและยังผลิตได้ไม่ทันกับความต้องการของตลาด อีกทั้งผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีราคาถูก จึงทำให้ปัจจุบันมีการผลิตผ้าหม้อห้อมจากสีสังเคราะห์ อีกทั้งเป็นการพิมพ์ลาย การย้อมผ้าทั้งผืนแทนการย้อมเส้นด้าย หรือ การตัดเย็บเป็นเสื้อแล้วค่อยนำไปย้อมทั้งตัวมากขึ้น แหล่งผลิตและจำหน่ายผ้าหม้อห้อมของจังหวัดแพร่ที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง อาจเรียกได้ว่าเป็นถนนสายสีน้าเงินจากลักษณะสีของผ้าหม้อห้อม ถือเป็นถนนสายเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัด จากห่วงโช่อุปทานของผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมของจังหวัดแพร่ที่มีเส้นทางเชื่อมโยงตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบในการผลิตผ้าหม้อห้อมสีธรรมชาติ กระบวนการขั้นตอนการผลิต การขนส่ง ช่องทางการจาหน่ายไปถึงผู้บริโภค ซึ่งจากห่วงโซ่นี้ แสดงให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาผ้าหม้อห้อมจากสีธรรมชาติให้มีศักยภาพมากขึ้น ถ้าได้รับการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมให้มีรูปแบบที่หลากหลาย ทันสมัย สนับสนุนการใช้ผ้าหม้อห้อมย้อมสีธรรมชาติจากภูมิปัญญาท้องถิ่น การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยปราชญ์ของชุมชน และสานต่อด้วยคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการทาการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สอดรับกับบริบทของสังคมปัจจุบัน จะเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมย้อมสีธรรมชาติ และยังเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์ในท้องถิ่นของจังหวัดแพร่ และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีสีย้อมสังเคราะห์ในระยะยาวอีกด้วย
Article Details
References
โพธิ์. (22 กรกฎาคม 2016). ห้อม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : หม้อห้อม บ้านทุ่งโฮ้ง มรดกภูมิปัญญาอันล้าค่าของจังหวัดแพร่ : https://www.youtube.com/watch?v=3vPrR5qEhFk&t=10s&ab_channel=Radio designCreative
จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง. (2563). การจัดการและพัฒนาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเชื่อมโยงสู่วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดแพร่ : กรณีการทำผ้าหม้อห้อมของชาวไทยพวน. Journal of Social Development, 69-81.
ประนอม ใจอ้าย. (2558). การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตห้อมในพื้นที่จังหวัดแพร่. จังหวัดแพร่ : กรมวิชาการเกษตร.
ป้าเหงี่ยม. (24 กุมภาพันธ์ 2564). ศูนย์เรียนรู้หม้อห้อมป้าเหงี่ยม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/indigobypangiam/photos/?ref=page_internal
วราลักษณ์ ประสงค์พันธ์. (2558). การย้อมผ้าย้อมม่อฮ่อม. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สว่าง สีตื้อ. (20 ตุลาคม 2563). การปลูกห้อมและท้าห้อมเปียก. (ประพาฬภรณ์ ธีรมงคล, ผู้สัมภาษณ์)
Kesinee Tammasala. (18 มกราคม 2564). รายการ หม้อฮ่อม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.youtube.com/watch?v=jCdBH285zTg
koyori. (18 มกราคม 2564). รายการ koyori หลอมรวม สืบสาน งานหัตถศิลป์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ฮ่อมเมืองแพร่ : koyori หลอมรวม สืบสาน งานหัตถศิลป์: https://www.youtube.com/watch?v=CJqZAqW8MWo&ab_channel=ThaiPBS
Manoottangwai. (24 พฤศจิกายน 62). หม้อห้อมป้าเหงี่ยม ย้อมห้อมให้หอมด้วยภูมิปัญญาโบราณ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.youtube.com/watch?v= I1n8GEOg0ss&ab_channel=Manoottangwai
The North องศาเหนือ : โลกใหม่ของห้อม. (19 กรกฎาคม 2017). The North องศาเหนือ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ห้อมมีชีวิต มันตายได้นะ [กว่าจะเป็นผ้าหม้อห้อม] : https://www.youtube.com/watchv=0zzkntEEUD4&ab_channel=TheNorth%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD
wikipedia. (26 ธันวาคม 2561). wikipedia. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0% B8%AD%E0%B8%A1