การปรับตัวของธุรกิจร้านกาแฟตามแนวทางชีวิตวิถีใหม่

Main Article Content

เปรมระพี อุยมาวีรหิรัญ

บทคัดย่อ

กาแฟเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมชนิดหนึ่งในสังคมไทย จัดได้ว่าเป็นเครื่องดื่มพื้นฐานที่มีไว้ติดบ้านหรือสานักงาน ปัจจุบันมีร้านกาแฟจำนวนมาก เนื่องจากร้านกาแฟเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการตั้งแต่รายเล็กไปจนถึงรายใหญ่เห็นได้จากรายงานของ Euromonitor ที่แสดงตัวเลขของตลาดกาแฟมีมูลค่าสูงถึง 42,537 ล้านบาท ในปี 2563 (ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร, 2564) สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้คร่าชีวิตของคนมากมายทั่วทั้งโลก รวมถึงการล้มหายตายจากไปของภาคธุรกิจซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ ธุรกิจร้านกาแฟเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบไม่แพ้กันกับภาคธุรกิจอื่น ๆ ร้านกาแฟหลายร้านมีการปรับตัวในเรื่องของการตลาดเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่บางร้านที่ไม่พร้อมปรับตัว หรือหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ ก็มีอันต้องยุติกิจการไปก็มี จากผลกระทบดังกล่าวประกอบกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของภาครัฐ ทำให้เกิดรูปแบบการปรับตัวชีวิตวิถีใหม่ขึ้น (New Normal) ซึ่งกระทบกับการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคด้วย ในส่วนของภาคธุรกิจร้านกาแฟ ก็มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยผู้บริโภคบางส่วนหันมาให้ความสนใจในกาแฟในลักษณะการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการชงกาแฟ มีการปรับเปลี่ยนเป็นการบริโภคแบบ Homebrew หรือการชงเอง ดื่มเอง เป็นบาริสต้าเองเพิ่มมากขึ้น ยิ่งเป็นปัจจัยที่ทาให้ผู้ประกอบการที่ทาธุรกิจร้านกาแฟต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ การให้บริการแบบซื้อแล้วนำกลับบ้าน (Take away) เป็นรูปแบบการบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีการเพื่อรักษายอดขายของร้านเอาไว้ ไม่ต่างกับธุรกิจอาหารอื่น ๆ ที่ต้องพยุงให้ร้านอยู่รอดเช่นกัน นอกจาก Take away แล้ว อีกหนึ่งกลยุทธ์ด้านการตลาดที่ร้านกาแฟต้องปรับตัว ก็คือการส่งกาแฟแบบเดลิเวอรี่ (Delivery) โดยให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น โดยที่ลูกค้าสามารถดูรายละเอียดสินค้าได้จากที่บ้าน แล้วกดซื้อได้เลยโดยไม่ต้องเดินทางมาที่ร้านด้วยตัวเอง ซึ่งจากกลยุทธ์นี้สามารถทำให้ร้านกาแฟหลายร้านเพิ่มยอดขายได้มากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
อุยมาวีรหิรัญ เ. (2022). การปรับตัวของธุรกิจร้านกาแฟตามแนวทางชีวิตวิถีใหม่. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 3(2), 87–98. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/4504
บท
บทความวิชาการ

References

กรมควบคุมโรค. (2563). ข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 | ไวรัสโคโรนาในประเทศไทย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php. 4 มิถุนายน 2564.

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). "Home Barista" โอกาสในวิกฤติธุรกิจกาแฟโลก. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/914257. 30 กรกฎาคม 2564.

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). ‘New Normal’ คืออะไร? เมื่อโควิด-19 ผลักเราสู่ชีวิต 'ปกติวิถีใหม่. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.bangkokbiznews.com/news/ detail/882508. 1 สิงหาคม 2564.

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). ส่องเทรนธุรกิจกาแฟ 5 เซ็กเมนท์มาแรงปี 2021. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/914654. 27 กุมภาพันธ์ 2564.

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). กลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/2099?utm source=Category& utmmedium=internal_referral. 20 มิถุนายน 2564.

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). โลกกาแฟ ใต้เงา COVID-19. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/1619?ant=. 30 กรกฎาคม 2564.

เปขณางค์ ยอดมณี. (2564). ผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ต่อธุรกิจ E-commerce กรณีศึกษาของบริษัทขนาดใหญ่ของโลก 4 บริษัท. วารสารสังคมศาสตร์. 10, 1 (ม.ค. - มิ.ย.) : 40-48.

ผู้จัดการสุดสัปดาห์. (2564). สำรวจตลาดกาแฟไทย “ไปต่อ” หรือ “พักก่อน” . [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://mgronline.com/daily/detail/9630000112832. 25 กุมภาพันธ์ 2564

มติชนออนไลน์. (2562). ร้านกาแฟสวนกระแสโควิด “อินฟอร์มาฯ” เพิ่มทางเลือก “สลัดเพลท” เพลทฟอร์มออนไลน์สู่ตลาดโลก. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.matichon.co.th/economy/news_2759212. 3 สิงหาคม 2564.

มุนินทร์ ไพยราช และปริญญาภรณ์ พจน์อริยะ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-5-5_1564744021.pdf. 3 มีนาคม 2564.

วัญวิริญจ์ แจ้งพลอย. (2558). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟของผู้ประกอบการรายย่อย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://www.ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/234/1/57602319.pdf, 5 มีนาคม 2564.

วัณยรัตน์ คุณาพันธ์. (2561). การศึกษากระบวนการปรับตัวที่มีประสิทธิผลสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. ชลบุรี : ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาวิจัยวัดผลและสถิติการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิรัตน์ เตชะนิรัติศัย และกฤษฎา ตันเปาว์. (2562). “กลยุทธ์การตลาดบริการ (7P’s) ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟพรีเมี่ยมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.” วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์. 7, 6 (พ.ย. - ธ.ค.) : 1741-1754.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ธุรกิจร้านกาแฟบริหารอย่างไรให้รุ่ง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Coffee-Shop-Management.pdf. 1 มีนาคม 2564.

สราวุธ พุฒนวล. (2562). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟ ในจังหวัดระนอง. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุนิษฐา เศรษฐีธร. (2562). ธุรกิจร้านกาแฟในประเทศไทย. ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสถาบันอาหาร.

Coleman, James C. and Hammen. (1981). Abnormal Psychology and Modern Life. New York : Bombay.

Hanks, L., Line, N. & Kim, W. G. (2017). The impact of the social servicescape, density, and restaurant type on perceptions of interpersonal service quality. International Journal of Hospitality Management, 61 : 35-44.

The Analyzt. (2563). จุดเปลี่ยนธุรกิจกาแฟเทรนด์ดื่มแบบ Homebrew โต. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.blockdit.com/posts/5eb516dd276d474f5d96c5a6. 1 มีนาคม 2564.