มุมมองเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคตะวันตกผ่าน”น้ำพริก”
Main Article Content
บทคัดย่อ
อาหารเป็นรูปแบบหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นมุนมองของคนในแต่ละท้องถิ่นในด้านวัฒนธรรมซึ่งบทความนี้ได้เขียนถึงวัฒนธรรมการกินน้าพริกของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคตะวันตก ที่มีความเหมือนและแตกต่างกันอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ภายใต้การกินที่เรียกกันว่า น้าพริก ซึ่งน้าพริกเป็นอาหารชนิดหนึ่งใช้คลุกกินกับข้าวหรือกินแนมกับผัก มีส่วนประกอบสาคัญ คือ พริกกับเกลือ เป็นอาหารที่มีราคาไม่แพงและสามารถกินได้ง่าย สาหรับน้าพริกในกลุ่มชาติพันธุ์ก็ไม่ได้แตกต่างกันกับน้าพริกของคนไทย แต่อาจจะมีความต่างกันในเรื่องวัตถุดิบ และรสชาติ รสชาติของน้าพริกกลุ่มชาติพันธุ์หลัก ๆ มีรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว แต่สาหรับคนไทยจะมีรสหวานเพิ่มเข้ามา ส่วนประกอบอื่นๆ และเครื่องปรุงรสก็แทบจะไม่แตกต่างกัน อย่างเช่น สาหรับส่วนประกอบของน้าพริกที่ให้รสเค็ม คือ เกลือ กะปิ ปลาร้า รสเปรี้ยวได้จาก มะขาม มะดัน มะม่วง มะปราง น้ามะนาว รสหวานได้จากน้าตาลต่าง ๆ เช่น น้าตาลทราย น้าตาลมะพร้าว น้าตาลโตนด และกลิ่นได้จากเครื่องเทศ เช่นหอมแดง กระเทียม ข่า ตะไคร้ เพื่อให้ได้รสชาติเป็นที่ต้องการ น้าพริกจะมีในทุกมื้ออาหาร เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สาหรับกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคตะวันตก จากการศึกษาวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคตะวันตก (ชนัญ วงษ์วิภาค, 2531) มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในภาคตะวันตกดังนี้ กะเหรี่ยง มอญ ละว้า พม่า ลาวพวน ลาวโซ่ง ลาวครั่ง ลาวตี้ ลาวเวียง ลาวยวน เขมร ญวน กวย (ส่วย) สาหรับบทความนี้จะกล่าวถึงเพียงกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่งหรือไทสงดา กลุ่มชาติพันธุ์มอญ และกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีการนาวัฒนธรรมมาเชื่อมโยงกับการบริโภค มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงลักษณะของน้าพริกให้เข้ากับสภาพพื้นที่ที่อยู่อาศัย จนกลายเป็นเอกลักษณ์อาหารของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคตะวันตกได้อย่างลงตัววัฒนธรรมอาหาร เป็นธรรมเนียมวิธีการและประเพณีต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาหารที่คนในชุมชนหนึ่งหรือสังคมหนึ่ง ยึดถือสืบต่อกันมาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาหารทุกขั้นตอน คือมีการกาหนดและมีการเสริมสร้างให้มากกว่าสภาพธรรมชาติตามปกติของวัตถุดิบนั้น ๆ ที่นามาใช้เป็นอาหาร เพราะไม่มีใครกินในสภาพธรรมชาติแท้ ๆ ของวัตถุดิบนั้น โดยความรู้เกี่ยวกับอาหารไม่ใช่สัญชาตญาณอัตโนมัติตามธรรมชาติ แต่เป็นประสบการณ์จากการปฏิบัติธรรมเนียมประเพณีของครอบครัวและสังคมที่มีวัฒนธรรมเดียวกันยึดถือหรือปฏิบัติกันอยู่จนถึงทุกวันนี้ (ประหยัด, 2547)
Article Details
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (ม.ป.ป.). พริกแจ่วด้าน/ผักเครื่องจิ้ม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://cbt.nawatwithi.com/view_detail_food.php?food_id=1564 ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์, 2564.
กระจกหกด้าน. (2562). รสมือมอญ เมืองปทุม ออกอากาศวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.youtube.com/watch?v=g-wWYhcAMNw. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์, 2564.
จำนงค์ ตรีนุมิตร. (2553). การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมด้านอาหารพื้นบ้านของชุมชนบางกระดี่มอญ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จุไรรัตน์ ประเสริฐสนิท วิเชียร เพียงโงก และแสงแข สพันธุพงศ์. (2558). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ตารับอาหารจากความหลากหลายของไผ่ในชุมชนบ้านทิพุเย ตำบลชะแล อาเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏ
กาญจนบุรี.
ชนัญ วงษ์วิภาค. (2531) เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเรื่อง การศึกษาวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคตะวันตก ใน การประชุมสัมมนา “สังคม-วัฒนธรรมภาคตะวันตกศึกษา” นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และกาญจนี ละอองศรี. (2551). มอญ เขมรศึกษา (เอกสารวิชาการโครงการตลาดวิชามหาวิทยาลัยชาวบ้าน หมายเลข 3 / 2551). กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
นพรัตน์ ไชยชนะ และวีระวัฒน์ อุดมทรัพย์. (2559). “ลือกาเวาะ”: วิถีการทามาหากินกะเหรี่ยงโปร์บ้านไร่ป้า ตาบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม–
ธันวาคม 2559).
บุษบา ทองอุปการ.(ม.ป.ป.). ภูมิปัญญาอาหารมอญ หมู่บ้านมอญ สังขละบุรี . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/file/d/0B4Jju_l8gR5CZHpTM3A4Zk5YOUE/view. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์, 2564.
ประหยัด สายวิเชียร. (2547). อาหารวัฒนธรรมและสุขภาพ. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฝ่ายงานหอจดหมายเหตุและฐานข้อมูลท้องถิ่น. สานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. (2556). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://rlocal.kru.ac.th/index.php/th/2013-12-09-04-37-28/489-2015-09-21-06-18-09. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์, 2564”.
พัชรินทร์ สิรสุนทร .(2558). การจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมมอญ กรณีศึกษาชุมชนบางกระดี่. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
พัฒนะ วิศวะ. (2549). ความหมายของวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.manageronline.com. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์, 2564.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี. (2554). นิทรรศการอาหารการกินพื้นถิ่นคนราชบุรี ณบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2554. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://rb-food.blogspot.com/2011/02/blog-post8475.html.
ค้นเมื่อกุมภาพันธ์, 2564.
วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ. (2550) น้ำพริกสู่โลกาภิวัตน์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://biothai.net/node/5097. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์, 2564.
ศรุดา นิติวรการ. (2557). อาหารไทย : มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (ธันวาคม–เมษายน 2557).
ศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตกหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์. (2563). สานักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.snc.lib.su.ac.th/westweb/?page_id=68. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์, 2564.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2563). วัฒนธรรมห้าไห ไทยทรงดา โครงการภาพยนตร์สารคดีอาหารชาติพัน ธุ์ลาวโซ่งเข าย้อ ย เพช รบุรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=hPo3RmdXhls. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์,
สมทรง บุรุษพัฒน์ สุจริตลักษณ์ ดีผดุง สุมิตรา สุรรัตน์เดชา ณรงค์ อาจสมิติ ปัทมา พัฒน์พงษ์ และพิเชฐ สีตะพงศ์. (2554). แผ่นที่กลุ่มชาติพันธุ์และภาษาในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม 2554).
สุจริตลักษณ์ ดีผดุง พรทิพย์ อุศุภรัตน์ และประภาศรี ดาสะอาด. (2542). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์มอญ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุพรรณี โพธิ์แพงพุ่ม และคณะ. (2558). ความหลากหลายของพืชผักพื้นบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารบ้านทิพุเย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สุภรณ์ โอเจริญ. (2541). มอญในเมืองไทย โครงการหนังสือชุด “ประเทศเพื่อนบ้านของไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสรี ซาเหลา และคณะ. (2545). กลุ่มชาติพันธุ์ : วัฒนธรรมและประเพณี จังหวัดนครสวรรค์. สานักวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.
แสงแดด. (2548). ผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์แสงแดด จากัด.
อมรา พงศาพิชญ์. (2537). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Wisawa, P. (2006). Meanings of culture. Retrieved from www.managronline.com.