การสืบสานวัฒนธรรมทอผ้าไหมกับวิถีชีวิตของชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ฟ้า เจริญรัมย์

บทคัดย่อ

ผ้าไหมเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่าทางวัฒนธรรม มีความงดงาม แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย และเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการสืบทอดกันมาช้านาน ตั้งแต่สมัยอตีต กระทั่งปัจจุบัน เป็นกลิ่นอายทางวัฒนธรรมแต่โบราณ ที่ชาวบุรีรัมย์ทุกเชื้อสายยังคงอนุรักษ์สืบทอดกันมา มีการส่งต่อความรู้ ด้วยการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากความรักและศรัทธาที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นการนาความรู้ที่มีอยู่ถ่ายทอดออกมาเป็นผืนผ้า ออกมาเป็นลวดลายต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิต และภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบทอด กรรมวิธีการทอมีกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่อทอออกมาเป็นผืนผ้าที่เกิดความสวยงาม อันเกิดจากความประณีตบรรจง ให้มีสีสันและลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นนั้นวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมีความสำคัญกับคนไทยเชื้อสายเขมรทั้งในอดีตถึงปัจจุบันลวดลายผ้าไหมล้วนเกิดจากความประณีต ทั้งในด้านการออกแบบลวดลาย การย้อมสี ตลอดทั้งกระบวนการทอผ้าไหม ซึ่งใช้ระยะเวลายาวนานกว่านะเป็นผืนผ้าออกมาสวยงาม และควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบสานไว้ให้ดำรงอยู่ในท้องถิ่นสืบไป ซึ่งต้องถ่ายทอดวัฒนธรรมนี้ให้ชนรุ่น ด้วยความศรัทธาในอาชีพนี้ ควบคู่กับวิธีการพัฒนาผ้าไหม ด้านสีสันลวดลายและสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ทั้งยังให้คนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมโดยนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการบริหารจัดการ เพิ่มช่องทางการจัดจาหน่าย ให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ทาให้เกิดรายได้แก่ชุมชนเพิ่มมากขึ้น และนาไปสู่ความยั่งยืนทางอาชีพและวัฒนธรรมการทอผ้าไหมสืบไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ทรงพันธ์ วรรณมาศ. (2534). ผ้าไทยลายอีสาน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :https://sites.google.com/site/phathiy4phakh/pha-thiy-phakh-xisan/pha-hol

ธนพร เวทย์ศิริยานันท์. (2548). ภูมิปัญญาผ้าไหมของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร บ้านท่าสว่างอาเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2543). ผ้าทอพื้นเมืองในภาคอีสาน โครงการพัฒนาผ้าพื้นเมืองในทุกจังหวัดของประเทศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัฒนา จูฑะวิภาต. (2555). ผ้าทอกับชีวิตคนไทย. กรุงเทพฯ : คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศิริ ผาสุก. (2545). ผ้าไหมพื้นบ้าน : Handwoven thaisilk. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ศิริญญา หาญไชยนะ. (2545). เส้นสายลายไหม. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

สมบัติ ประจญศานต์. (2563). กระบวนการเรียนรู้การออกแบบและผลิตผ้าไหมมัดหมี่ทอมือหมู่บ้านท่องเที่ยวไหม จังหวัดบุรีรัมย์. วิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 12(2), 132-143.

สมาคมท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์. (20 มีนาคม 2556). ผ้าไหมบุรีรัมย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://burirambta.wordpress.com/2013/03/20.

สมพงษ์ ทิมแจ่มใส. (2543). ผ้าทอพื้นเมืองในภาคอีสาน. กรุงเทพฯ : โครงการพัฒนาผ้าพื้นเมืองในทุกจังหวัดของประเทศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัจฉรา ภาณุรัตน์ และคณะ. (2536). ผ้าไหมในวิถีชีวิตไทยกุยและไทยเขมร. สุรินทร์ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.surin.ru.ac.th, https://sites.google.com/site/phathiy4phakh/pha-thiy-phakh-xisan/phahol

Balue. (28 สิงหาคม 2561). ผ้าหางกระรอก เอกลักษณ์ท้องถิ่นทางภูมิปัญญาของชุมชนบ้านสนวนนอก . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://travel.mthai.com/region/northeast/191095.html

Hug Buriram. (3 กรกฎาคม 2558). สืบสานตานานไหมบุรีรัมย์ ใต้ร่มพระบารมี สานักงานพัฒนาชุมชน จ.บุรีรัมย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.youtube.com/watch?v= AHK6Jd3wudQ.

wikipedia. (13 กุมภาพันธ์ 2564). ชาวไทยเชื้อสายเขมร. เข้าถึงจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7