การออกแบบโคมไฟจากผ้าหางกระรอกจังหวัดบุรีรัมย์ด้วยเทคนิคการพิมพ์ดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผ้าหางกระรอกของจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผ้าทอโบราณที่เน้นวิธีการควบเส้นไหมสองสีมาสาวรวมกันเป็นเส้นเดียว จึงทำให้ผ้าเกิดพื้นผิวคล้ายลายของหางกระรอก บทความนี้ได้ทำการศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบโคมไฟจากผ้าหางกระรอกจังหวัดบุรีรัมย์ด้วยเทคนิคการพิมพ์ดิจิทัล และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์ โดยออกแบบร่างความคิดเพื่อการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 รูปแบบ นำไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญจานวน 5 ท่าน และสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน นาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่า การประดิษฐ์โคมไฟจากผ้าหางกระรอกจังหวัดบุรีรัมย์ด้วยเทคนิคการพิมพ์ดิจิทัล เป็นการออกแบบโคมไฟตั้งโต๊ะรูปแบบคลาสสิก ด้วยการนางานประติมากรรมภาพสลักนางอัปสราและลายพวงพะยอมที่พบในงานศิลปะขอมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดบุรีรัมย์ มาออกแบบในส่วนฐานของโคมไฟ และลายพวงพะยอมตกแต่งในส่วนของโคมไฟด้วยเทคนิคการพิมพ์ดิจิทัล ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษา พบว่า ด้านวัสดุ มีความพึงพอใจในด้านการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุได้อย่างเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.64) ด้านผลิตภัณฑ์ มีความพึงพอใจในด้านขนาดและสัดส่วนโคมไฟมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.64) ด้านประโยชน์ใช้สอย มีความพึงพอใจในด้านใช้ประดับและตกแต่งภายในบ้านอยู่ในระดับมากที่สุด (4.76) ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย มีความพึงพอใจในด้านการจัดจำหน่ายทางออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด (4.58) และด้านราคามีความพึงพอใจในราคา 5,200 บาท อยู่ในระดับมาก (4.04) การออกแบบโคมไฟจากผ้าหางกระรอกจังหวัดบุรีรัมย์ด้วยเทคนิคการพิมพ์ดิจิทัล จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเป้าในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ทาได้ง่าย สามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้หลายหลายขึ้น และเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าหางกระรอกของชาวจังหวัดบุรีรัมย์ที่ทรงคุณค่าให้คงอยู่กับวัฒนธรรมไทยสืบไป
Article Details
References
กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2555). ภูมิปัญญาผ้าไหมไทย. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กาวี ศรีกูลกิจ. (2556). การพิมพ์ดิจิทัล. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก จาก https://www.siamcreative108.com. ค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2563.
ฉัตรชัย สีหะ. (2547). ประเภทของโคมไฟ. กรุงเทพฯ : ศรีสยามการพิมพ์.
วิชญา โคตรฐิติธรรม. (2558). การออกแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟตกแต่งจากวัสดุ เศษผ้าฝ้ายพื้นเมืองด้วยเทคนิคงานผ้า. ปริญญาโท สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ภาควิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำเริง โกติรัมย์. (2563) 31 ตุลาคม. สัมภาษณ์โดย อรนุช สิงห์คา และณัฐภรณ์ วนวงษ์ ที่ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มทอผ้าไหมบ้านสนวนนอก ตำบลสนวน อาเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์.
อารดา พลอาษา. (2560). การศึกษาองค์ความรู้การอนุรักษ์ การส่งเสริมและการเพิ่มคุณค่าการทอผ้าไหมหางกระรอกคู่ตีนแดง อาเภอนาโพธิ์ และอาเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์. โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมประจำปีงบประมาณ 2560.