การออกแบบพานพุ่มเปลี่ยนรูปจากกระจกเกรียบด้วยเทคนิคเลโก้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบพานพุ่มเปลี่ยนรูปจากกระจกเกรียบด้วยเทคนิคเลโก้ และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน สำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 25 คน และบุคคลทั่วไป จำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบพานพุ่มเปลี่ยนรูปจากกระจกเกรียบสามารถเปลี่ยนรูปแบบได้ ทั้งพานพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ พานพุ่มทรงโถน้ำพระพุทธมนต์ และพานพุ่มทรงบาตร ด้วยเทคนิคเลโก้ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทั้งยอดพุ่ม หุ่นพุ่ม และกลีบบัว ส่วนความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย ด้านผลิตภัณฑ์ นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.43) มากกว่าบุคคลทั่วไปมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.20) ด้านวัสดุ นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.41) มากกว่าบุคคลทั่วไปมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.28) ด้านประโยชน์ใช้สอย นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.52) มากกว่าบุคคลทั่วไปมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.30) ด้านราคา นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (4.20) มากกว่าบุคคลทั่วไปมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (3.73) ด้านสถานที่จัดจำหน่าย นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.46) มากกว่าบุคคลทั่วไปมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (3.94) การออกแบบพานพุ่มเปลี่ยนรูปจากกระจกเกรียบด้วยเทคนิคเลโก้ จึงเป็นการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์กระจกเกรียบ และการสร้างความแปลกใหม่ในการใช้พานพุ่มที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้โดยไม่ต้องใช้กาว จึงเป็นการสร้างสรรค์พานพุ่มที่เน้นความหลากหลายที่มากกว่าหนึ่งรูปแบบการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และการเผยแพร่ภูมิปัญญาของคนไทยให้คงอยู่สืบต่อไป
Article Details
References
ณรงค์ชัย, พีระยุทธ และ ภัทรวุฒิ. 2552. งานช่างประดับกระจก. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://changsipmu.com. 10 กันยายน 2562.
ธนาภรณ์ คำหนู. 2555. การประดิษฐ์พานพุ่มจากเกล็ดปลา. ปริญญาตรี. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ธัญญลักษณ์ เอี่ยมชุติกุลสินธุ์ และ รัชฎาภรณ์ พูนจันทร์. 2557. การปรับเปลี่ยนรูปแบบผ้าพันคอเป็นเสื้อสตรี. ปริญญาตรี.สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ประวัติเลโก้. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.wurkon.com. 20 ตุลาคม 2562.
พิศุทธิ์ ดารารัต น์. 2542. กระจกเกรียบ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www2.mtec.or.th. 4 กันยายน 2562.
รัตนลักษณ์ ปัญจวุฒิพัฒน์. 2547. งานดอกไม้สดในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : เศรษฐศิลป์
ศศิธร สีสุวอ และ อรรถชัย อินทร์เลี่ยม. 2560. การประดิษฐ์พานพุ่มด้วยเทคนิคกระแหนะลายจากฝุ่นไม้ไผ่. ปริญญาตรี. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. ม.ป.ป. เทคนิคการประดับกระจก. กรุงเทพฯ : เพชรกะรัต.
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) SLRI. 2561. กระจกเกรียบ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.wazzadu.com. 9 ตุลาคม 2562.