การประดิษฐ์เครื่องประดับสตรีปรับเปลี่ยนรูปแบบด้วยกระจกล้านนา

Main Article Content

สุชีรา ผ่องใส
ณัฐพงศ์ พลโคตร
เสกสรร เสาร์คำ

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการประดิษฐ์เครื่องประดับสตรีปรับเปลี่ยนด้วยกระจกล้านนา และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำ นวน 5 ท่าน สำ รวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเครื่องประดับ จำนวน 25 คน และผู้บริโภคสตรีวัยทำงานอายุระหว่าง 18-60 ปี จำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการประดิษฐ์เครื่องประดับสตรีมีแนวคิดในการออกแบบจากเครื่องประดับของคนไทลื้อ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เก่าแก่ที่นิยมตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องเงินที่มีเอกลักษณ์ การปรับเปลี่ยนรูปแบบเครื่องประดับจึงเป็นการผสมผสานระหว่างแบบติด และแบบตะขอเกี่ยวกับตัวเรือนสร้อย ส่วนความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่า ด้านรูปแบบของชุดเครื่องประดับสตรี ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (4.32) น้อยกว่าสตรีวัยทำงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.48) ด้านวัสดุ ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.34) มากกว่าสตรีวัยทำงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.32) ด้านประโยชน์ใช้สอย ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (4.05) น้อยกว่าสตรีวัยทำงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (4.17) ด้านราคา ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (3.96) มากกว่าสตรีวัยทำงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (3.98) ด้านสถานที่จัดจำหน่าย ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (4.16) น้อยกว่าสตรีวัยทำงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.43) การประดิษฐ์เครื่องประดับสตรีปรับเปลี่ยนรูปแบบด้วยกระจกล้านนา จึงเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องประดับสตรีที่เพิ่มจุดเด่นของเครื่องประดับด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้มีความหลากหลายและแตกต่างจากเครื่องประดับทั่วไป อีกทั้งเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาการทำกระจกล้านนา (แก้วจืน) การสร้างรายได้ให้กับกลุ่มช่างหรือสล่า และการอนุรักษ์ศิลปะที่ทรงคุณค่าของคนล้านนาให้คงอยู่กับวัฒนธรรมไทยสืบไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. 2559. กระจกตะกั่ว ศิลปะในสถาปัตยกรรมไทยภาคเหนือ กรณีศึกษาวิหารขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

กฤษณา สุดสวย. 2555. ผลิตภัณฑ์ชุดเครื่องประดับจากย่านลิเภาด้วยเทคนิคมาคราเม่. ปริญญาตรี. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

จุฑาภัทร คงสุนทร. 2552. ผลิตภัณฑ์บุษบกจำลองด้วยเทคนิคการทำเครื่องเขินล้านนา. ปริญญาตรี. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ณัฐวดี จันทร์โกมล และนิธิกร แว่นแก้ว. 2561. การประดิษฐ์เครื่องประดับจากเศษผ้าหม้อห้อม. ปริญญาตรี. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ณัฏศรา หมั่นเกตุ และจันทร์ธิมาพร นครสูงเนิน. 2561. การประดิษฐ์ชุดเครื่องประดับจากเปลือกกุ้งขาว. ปริญญาตรี. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

รชต ชาญเชี่ยว. 2562. ผู้รื้อฟื้นภูมิปัญญาการทำแก้วจืน. สัมภาษณ์, 9 ตุลาคม 2562.

รสชง ศรีลิโก. 2552. “เครื่องประดับ,” สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. เล่มที่ 34 : 113-143.

สยมภู ภวรุ่งสัตยา. 2555. การศึกษาเพื่อการออกแบบเครื่องประดับสตรีประเภทกำไลโดยใช้วัสดุประเภทพลาสติกเหลว. ปริญญาโท. สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ. บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. 2562. วช.ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รื้อฟื้นการผลิตกระจกไทยโบราณด้วยวิจัยและนวัตกรรม. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : www.nrct.go.th/news/23 มีนาคม 2563.

สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. 2557. กระจกตะกั่ว : ศิลปะในสถาปัตยกรรมไทยภาคเหนือกรณีศึกษาวิหารขนาดเล็กในจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร.