การพัฒนาไส้อั่วรสลาบหมู

Main Article Content

นิภาพร กุลณา
สุรีย์ ทองกร
พิมพ์ณดา นนประสาท
ปนัดดา พึ่งศิลป์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตไส้อั่วรสลาบหมู และศึกษาการยอมรับของผู้บริโภค วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) โดยศึกษาปริมาณผงพริกลาบที่เหมาะสม 3 ระดับ ปริมาณร้อยละ 0.65, 1.30 และ 1.95 โดยน้ำหนักของวัตถุดิบทั้งหมด ทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 5-point hedonic scale จำนวน 50 คน ผลการศึกษาปริมาณผงพริกลาบที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์ไส้อั่วรสลาบหมู พบว่า ผงพริกลาบที่เหมาะสม คือ ร้อยละ 1.95 โดยน้ำหนักของวัตถุดิบทั้งหมด สูตรนี้มีคะแนนความชอบทางประสาทสัมผัสในทุกคุณลักษณะอยู่ในระดับชอบมาก (4.81) นอกจากนี้ยังพบว่าทุกคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส ได้แก่ สี กลิ่น เนื้อสัมผัส และรสชาติ อยู่ในระดับพอดี (มากกว่าร้อยละ 70) ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสูตรต้นตำรับ (สูตรควบคุม) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 อยู่ในระดับชอบมาก และผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บริษัทนาโนซอฟท์ แอนด์ โซลูชัน. 2561. ดำเนินการตามหลักการ PDCA เพื่อสร้างความเชื่อมั่น. แหล่งที่มา: http://nanosoft.co.th/maktip56.htm. 11 ตุลาคม 2562.

พาขวัญ ทองรักษ์. 2556. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้อั่วปลาไขมันต่ำ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

รัตนา พรหมพิชัย. 2542. ลาบ. ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (11, หน้า5937-5944). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมไทยวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

รัตนา พรหมพิชัย. 2542. ไส้อั่ว. ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่มที่ 14, หน้า 7257). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

สุกัญญา วงวาท. 2544. การผลิตไส้อั่วลดไขมัน. โครงการวิจัยสาขาวิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

เสาวภา ศักยพันธ์. 2548. ตำราอาหารท้องถิ่น. เชียงใหม่. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาราชภัฏเชียงใหม่.