ผลิตภัณฑ์ขนมขาไก่เสริมรำข้าวไรซ์เบอร์รี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกสูตรพื้นฐานการผลิตขนมปังขาไก่ โดยการวาง แผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Completely Block Design, RCBD) นำไปประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสในแต่ละด้านที่ปรากฏ ได้แก่ สี กลิ่น เนื้อสัมผัส รสชาติ และความชอบโดยรวม ใช้ผู้ทดสอบจำนวน 50 คน ด้วยวิธีการซิมแบบให้คะแนนความชอบ 5 ระดับ (5 - Point hedonic scale) พบว่า ขนมปังขาไก่ สูตรที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยแป้งสาลี 1,000 กรัม ยีสต์สำเร็จรูป 10 กรัม เกลือป่น 17 กรัม นมผง 30 กรัม น้ำสะอาด 600 กรัม น้ำตาล ทราย 100 กรัม และเนยขาว 50 กรัม ส่วนประกอบสำหรับทาขนมปังขาไก่หลังอบ ประกอบด้วย เนยสด 110 กรัม และเกลือป่น 7 กรัม ได้คะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด จากนั้นศึกษา สัดส่วนเหมาะสมของรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ 6 ระดับ คือ ร้อยละ 5, 10, 15, 20, 25 และ 30 พบว่า สัดส่วนร้อยละ 5 ได้คะแนนค่าเฉลี่ยสูงสุด คุณภาพทางกายภาพ พบว่ามีค่าเฉลี่ย ค่าสี (L*) มีค่า 54.11 ค่าสี (a*) มีค่า 8.58 ค่าสี (b*) มีค่า 20.54 ค่าความกรอบ 4.80 นิวตัน ค่าความแข็ง 37.20 นิวตัน
Article Details
References
กองบรรณาธิการการเกษตร. (2557). ไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ พลิกชีวิตชาวนาไทย. กรุงเทพฯ. ปัญญาชน
เฉลิมพล สมสกุล, พีรยุทธ หอมเย็น, ผกาวดี ภู่จันทร์ และ โสรัจ วรชุม อินเกตุ. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมปังขาไก่เสริมกากถั่วเหลือง ใน การประชุมทางวิชาการเกษตร นเรศวร ครั้งที่ 14. “เกษตรและสุขภาพ” (Agriculture and Health) วันที่ 1 - 2 พฤศจิกายน 2559 ณ คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยนเรศวร
ถาวร ฉิมเลี้ยง และสุพร สังข์สุวรรณ. (2554), การศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อ ขนมปังขาไก่ผสมสาหร่ายไส้ไก่, กรุงเทพฯ, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทิพาวรรณ เฟื่องเรื่อง. (2533). ขนมอบ, วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร. กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ.
ระภิพร ใบโคกสูง. (2556) การทำขนมปังขาไก่เสริมไข่ขาวเค็มดิบ, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท (สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์) คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร.
สถาบันอาหาร. (2558). ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ในประเทศไทย, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://fic.nfi.or.th/Market OverviewDomesticDetail.php?id 77
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559 อาหารว่างเพื่อสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ วันที่ 12 ตุลาคม 2559 จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/32759 อาหารว่างเพื่อสุขภาพ%20.html
อโนชา สุขสมบูรณ์. (2545). ผลของโปรตีนไอโซเลตจากถั่วเหลืองและรำข้าวต่อผลิตภัณฑ์ อาหารขบเคี้ยวเสริมโปรตีนและเส้นใยอาหารแบบกรอบพองด้วยการเอกซ์ทรูชัน. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
อรอนงค์ นัยวิกุล. (2540). ข้าวสาลี: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อัมรินทร์ Cuisine. (2557). เบเกอรี่โฮมเมด. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง อัมรินทร์ Cuisine. (2560) ขนมปังทำเอง อร่อยง่ายด้วยเตาปิ้ง. (พิมพ์ครั้งที่ 8). อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง: กรุงเทพฯ
Gourmet and Cuisine. (2558). 9 ขนมปังอร่อยจากรอบโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2559, จาก http://gourmetandcuisine.com/node/3405