ผลิตภัณฑ์เนยถั่วลิสงเสริมงาม้อนเพื่อสุขภาพ

Main Article Content

นิภาพร กุลณา
สุรีย์ ทองกร
ปนัดดา พึ่งศิลป์
พิมพ์ณดา นนประสาท

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของการใช้งาม้อนเสริมใน ผลิตภัณฑ์เนยถั่วลิสง และศึกษาการยอมรับผลิตภัณฑ์เนยถั่วลิสงเสริมงาม้อนจากผู้บริโภค โดย วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) ศึกษา ปริมาณงาม้อน 3 ระดับ ที่ร้อยละ 10, 20 และ 30 ของน้ำหนักเนยถั่วลิสงสูตรมาตรฐาน ทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 5-point hedonic scales ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณของงาม้อนที่แตกต่างกันมีผลต่อความชอบของผู้บริโภค โดยผลิตภัณฑ์เนยถั่วลิสงที่เสริม งาม้อนปริมาณร้อยละ 20 ได้รับการยอมรับจากผู้ทดสอบในระดับคะแนนความชอบสูงที่สุด มี คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.58 อยู่ในระดับชอบมาก ประกอบด้วย ถั่วลิสงร้อยละ 68.84 งาม้อนร้อย ละ 16.06 น้ำมันมะกอกร้อยละ 5.74 น้ำตาลร้อยละ 9.18 และเกลือร้อยละ 0.18 ผลการ ทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เนยถั่วลิสงเสริมงาม้อน พบว่า ผู้บริโภค ส่วนใหญ่ให้การยอมรับผลิตภัณฑ์เนยถั่วลิสงเสริมงาม้อนในระดับชอบมาก ดังนั้นผลิตภัณฑ์ เนยถั่วลิสงเสริมงาม้อนที่พัฒนาได้นี้จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ

Article Details

How to Cite
กุลณา น. ., ทองกร ส. ., พึ่งศิลป์ ป. ., & นนประสาท พ. . (2022). ผลิตภัณฑ์เนยถั่วลิสงเสริมงาม้อนเพื่อสุขภาพ. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 1(2), 1–8. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/4376
บท
บทความวิจัย

References

เจษฎา จงใจดี และอดิเรก ปัญญาลือ, (2560). งาขี้ม้อน มหัศจรรย์โอเมก้าจากยอดดอย. สืบค้น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562, จาก https://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/304.

เฉลิมพล ถนอมวงศ์, เพ็ญขวัญ ชมปรีดา, วิชัย หฤทัยธนาสันติ์ และสุมนรัตน์ ชื่นพุฒิ. (2547). การพัฒนาไส้ขนมจากเนยถั่วลิสงผสมงาขาว, น.656. ใน การประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42 : สาขาประมง สาขาอุตสาหกรรมเกษตร, กรุงเทพฯ

ชมชื่น ชูช่อ. (2557) อย่ามองข้ามถั่วลิสง, สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2562, จาก https://www. thairath.co.th/content/462264.

ผาณิต รุจิรพิสิฐ และวิชชุดา สังข์แก้ว (2554) ผลของการใช้งาม้อนเสริมในผลิตภัณฑ์ขนมปัง แห่งอบกรอบ, วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 42(2)(พิเศษ), 405 408.

ไมตรี สุทธจิตต์, จักรกฤษณ์ คณารีย์, พยุงศักดิ์ ตันติไพบูลย์วงศ์ และคมศักดิ์ พินธะ. (2558). กรดไขมันโอเมก้า 3, โอเมก้า 6 และสารอาหารของเมล็ดงาม้อนในภาคเหนือของ ประเทศไทย, วารสารนเรศวรพะเยา, 8 (2), 80-86.

ศรีสุดา เตชะสาน (2557) การปลูกถั่วลิสง, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2561) โอเมกา 9 กรดไขมันดี ที่เหมือนไม่สำคัญ แต่ก็สำคัญนะ, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th/ blog/myblog/topic/757/liqueur 20nick/1447

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2561) ความจริงไขมันทรานส์, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562. จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/43648.html อดุลย์ศักดิ์ ไทยราช (2561) ถั่วลิสงพืชที่ตลาดต้องการมาก, สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2562, จาก https://www.technologychaotian.com/marketing/article_50325

อภิญญา เจริญกุล. (2553), การแปรรูปอาหารเบื้องต้น, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ

Asia Food Beverage Thailand. (2016). World Current Trend of Snackification. Retrieved March 27, 2019, from http://asiafoodbeverage.com/old/fom blog/world-current trend of snackification/2/

American Food. (2019). Food. Retrieved February 20, 2019, from https://americanfoodweb.wordpress.com/food/

Lovefitt. (2019). Homemade peanut butter. Retrieved March 10, 2018, from http:// www.lovefitt.com/diet menu/A3/

Soclaimon. (2010). Peanut. Retrieved March 10, 2019, from https://soclaimon.wordpress.com/2010/06/14/