การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านด้วยการย้อมสีธรรมชาติจากใบต้นคูน

Main Article Content

ประพาฬภรณ์ ธีรมงคล
อัชชา หัทยานานนท์
นวลแข ปาลิวนิช
จุฑาทิพ รัตนะนราพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการย้อมผ้าไหมด้วยสีธรรมชาติจากใบต้นคูน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการย้อมสีและการใช้สารช่วยติดในการย้อมผ้าไหมด้วยสี จากใบต้นคูน เพื่อทดสอบความคงทนต่อการซักของผ้าไหมที่ย้อมด้วยสี ใบต้นคูน และเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านด้วยการย้อมสีธรรมชาติแก่บุคคลทั่วไป ผลการย้อมผ้าไหมด้วยสีธรรมชาติจากใบต้นคูน โดยใช้สารช่วยติดจานวน 5 ชนิด โดยใช้ความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อทดสอบความคงทนต่อการซักและทนต่อแสงแดด ด้วยมาตรฐาน AATCC สรุปผลได้ดังนี้ 1. ผลการศึกษา พบว่าจากการสกัดสีจากใบต้นคูน แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง น้าสีที่สกัดได้จากใบต้นคูนมีสีน้าตาล และเมื่อทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จะได้น้าสีเป็นสีน้าตาลเข้ม และในวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการย้อมร้อน 2. ผลการย้อมผ้าไหมด้วยสีธรรมชาติจากใบต้นคูน โดยไม่ใช้สารช่วยติดพบว่า ให้สีเหลืองทอง แต่หลังการซักความเข้มของสีบนผืนผ้าซีดจางลงเล็กน้อย และเมื่อใช้สารช่วยติด คือ น้าส้มสายชู น้ามะนาว น้าสนิม น้าปูนใส และน้าเกลือ พบว่า หลังการซักความเข้มของสีบนผืนผ้าซีดจางลงค่อนข้างมาก 3. ดาเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการระยะเวลาในการอบรมเชิงปฏิบัติการ จานวน 2 วัน ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกประเด็นคำถาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ ดิศวัฒน์. (2544). การย้อมผ้าไหมด้วยผงขมิ้นชัน. ปัญหาพิเศษปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จันทนี จันทรศร. (2547). การย้อมผ้าไหมด้วยสีจากเปลือกมะพร้าวแก่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ชลธิชา โมชฏาพร. (2546). การย้อมผ้าไหมด้วยสีจากใบหูกวาง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทียนศักดิ์ เมฆพรรณโอภาส. (2547). เคมีสีธรรมชาติกับการย้อม. วารสารมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

นวลแข ปาลิวนิช. (2542). ความรู้เรื่องผ้าและเส้นใย (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จากัด.