ปลาแผ่นอบกรอบจากปลาซัคเกอร์

Main Article Content

ธนภพ โสตรโยม
ชญาภัทร์ กี่อาริโย
นพพร สกุลยืนยงสุข
น้อมจิตต์ สุธีบุตร
ดวงกมล ตั้งสถิตพร
ดวงรัตน์ แซ่ตั้ง
สุมภา เทิดขวัญชัย

บทคัดย่อ

ปลาแผ่นอบกรอบจากปลาซัคเกอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของปลาซัคเกอร์ ศึกษาสูตรพื้นฐานและกรรมวิธีการผลิตปลาแผ่นอบกรอบ ศึกษาปริมาณเนื้อปลา ซัคเกอร์ที่เหมาะสมที่ใช้ในการผลิตปลาแผ่นจากปลาซัคเกอร์ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของปลาแผ่นอบกรอบจากปลาซัคเกอร์ระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง และได้ผลการวิจัยดังนี้ ปริมาณความชื้น โปรตีน ไขมัน เส้นใยหยาบ เถ้า และคาร์โบไฮเดรต มีค่า 83.20±0.24, 14.63±0.51,.48±0.16, 0.16±0.03, 1.40±0.20 และ 0.11±0.02 ตามลาดับ การศึกษาสูตรพื้นฐานและกรรมวิธีการผลิตปลาแผ่นอบกรอบพบว่าสูตรที่ 2 ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบเฉลี่ยในทุกด้านมากที่สุด และนาปลาแผ่นอบกรอบสูตรที่ 2 มาศึกษาปลานิล : ปลาซัคเกอร์ ที่ระดับ 100 : 0, 25 : 75, 50 : 50, 75 : 25 และ 0 : 100 ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบที่ระดับ 0 : 100 มากที่สุดในทุกด้าน คุณภาพทางกายภาพ พบว่าค่าความสว่าง (L*), ค่าสีแดง(a*) และค่าสีเหลือง (b*) เท่ากับ 43.11±0.30, 15.70±0.30 และ 18.96±0.48 ตามลาดับ ค่า aw เท่ากับ 0.41±0.00 และค่าความกรอบเท่ากับ 7.08±1.10 ซึ่งอยู่ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มผช. การศึกษากลิ่นหืนโดยบรรจุผลิตภัณฑ์ในถุงอลูมิเนียมฟอยล์พร้อมสารดูดความชื้นเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ด้วยวิเคราะห์ทางประสาทสัมผัสพบว่าผู้ทดสอบชิมให้คะแนนด้านกลิ่น (ไม่หืน) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p>0.05)

Article Details

How to Cite
โสตรโยม ธ. ., กี่อาริโย ช. ., สกุลยืนยงสุข น. ., สุธีบุตร น. ., ตั้งสถิตพร ด. ., แซ่ตั้ง ด. ., & เทิดขวัญชัย ส. . (2022). ปลาแผ่นอบกรอบจากปลาซัคเกอร์. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 1(1), 11–21. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/4366
บท
บทความวิจัย

References

กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้า. (2552). ปลาแผ่นอบกรอบ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก; https://www.fisheries.go.th/industry/ (วันที่สืบค้นข้อมูล 3 ตุลาคม 2561)

ณัฎฐา. (2547). การเลือกใช้สารดูดความชื้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2561, จากhttp://www.tanapolvanich.com/dry-bag.

บุณฑริกา. (2559). การประเมินคุณค่าทางโภชนะในอาหารที่ผลิตจากสัตว์น้าจืด. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2561, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistJour nal.

ประวีณา. (2545). ปลาบดแผ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561, จากhttps://www.ku.ac.th/e-magazine/june45/agri/fish.html.

ประวีณา. (2546). ปลาแผ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2561, จาก https://www.thaihealth.or.th/ Content. ไพโรจน์. (2539). Water activity / แอคติวิตีของน้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2561, จากhttp://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0551/water-activity.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (ม.ป.ป). การเกิดเจลาติไนเซชันของแป้งมัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2561, จาก http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/7717/6/ Chapter2.pdf.

มะนาว. (2560). แป้งทาอาหาร แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2561,จาก https://maanow.com. วณิศรา. (2531). ปลาบดแผ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561, จาก http://eatalongsea blogspot.com/2009/06/blog-post_2344.html.

วันชัย. (2550). อันตรายจากขนมขบเคี้ยว. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2561, จาก http://www.edtechcreation.com/th/articles.

สิทธิพัฒน์. (2550). ภัยจาก "ปลาซัคเกอร์". สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2561 จาก https://www.posttoday.com/social.

Nanavdo. (2558). เนื้อปลา ทาไมย่อยง่ายกว่าเนื้อหมู. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561, จาก https://nanavdo.com.