การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์ จากผ้าขาวม้าเชิงสร้างสรรค์

Main Article Content

ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล
อารยะ ไทยเที่ยง
กิตติ ยอดอ่อน
อนุสรณ์ ใจทน
อัมพวัน ยันเสน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าขาวม้าเชิงสร้างสรรค์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าขาวม้าเชิงสร้างสรรค์ ที่ออกแบบพัฒนาขึ้นใหม่ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยจานวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินลักษณะของดอกไม้ที่เหมาะสมในการประดิษฐ์ จานวน 5 คน โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และกลุ่มผู้ประเมินความพึงพอใจ คือ บุคคลทั่วไปจานวน 50 คน โดยสุ่มแบบตามชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าขาวม้าที่เป็นดอกหลัก ในลักษณะกลีบดอกชั้นเดียว กลีบซ้อน ดอกช่อ ดอกกลุ่ม ดอกทรงกรวย เลือกดอกลิลลี่ ดอกกุหลาบ ดอกแกลดิโอลัส ดอกว่านสี่ทิศ ดอกคาร่าลิลลี่ ส่วนดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าขาวม้าที่เป็นดอกตกแต่ง ในลักษณะดอกแซม และดอกกล้วยไม้ เลือกดอกเฟื่องฟ้า และดอกแคทลียา ว่าเหมาะสมในการพัฒนา ส่วนความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์ จากผ้าขาวม้าเชิงสร้างสรรค์ จานวน 3 รูปแบบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (4.89) ผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก อยู่ในระดับมาก (3.97) และผลิตภัณฑ์เครื่องประดับตกแต่งร่างกาย อยู่ในระดับมาก (3.70)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นันทิยา ดอนเกิด. (2560). การออกแบบเครื่องแต่งกายจากผ้าขาวม้าของตาบลนาข่า อาเภอนาข่า จังหวัดอุดรธานีสาหรับสตรีวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์สาขาศิลปะและการออกแบบ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ปวีณา บุญปาน. (2552). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ดอกไม้ดินไทยและดินญี่ปุ่นตกแต่ง เพื่อสร้างรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พิชามญชุ์ ชัยดรุณ และปารมี โปร่งเฉลยลาภ. (2560). ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย คุณค่าและภูมิปัญญาจากอดีตถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จาากัด (มหาชน).

สมพร ยิ่งเจริญ. (2545) ดอกไม้ประดิษฐ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ด่านสุทธา.

สุทิติ ขัตติยะ และวิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์. (2554). แบบแผนการวิจัยและสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง.