ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าฝ้ายตกแต่งสะท้อนน้ำของสตรีวัยผู้ใหญ่

Main Article Content

วัลภา แต้มทอง
กมลวรรณ นันทศาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก
ผ้าฝ้ายตกแต่งสะท้อนน้าของสตรีวัยผู้ใหญ่ใน 3 ด้าน คือ ด้านประเภทผลิตภัณฑ์ ด้านลวดลาย
ผ้าและด้านสีสันผ้า กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีวัยผู้ใหญ่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 100
คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการ
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าฝ้ายตกแต่งสะท้อนน้า มีค่าความเชื่อมั่น .89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย
และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านประเภทผลิตภัณฑ์ สตรีวัยผู้ใหญ่ต้องการผลิตภัณฑ์
กระเป๋า เครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอในระดับมาก โดยสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและตอนกลาง
ต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ แตกต่างกัน (p<.05) แต่ต้องการผลิตภัณฑ์
กระเป๋า ไม่แตกต่างกัน (p≥.05) 2) ด้านลวดลายผ้า สตรีวัยผู้ใหญ่ต้องการผ้าที่ไม่มีลวดลาย
(ผ้าพื้น) ในระดับมาก แต่ต้องการผ้าที่มีลวดลายเส้นโค้งและลวดลายเส้นตรงในระดับปานกลาง
โดยสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและตอนกลางต้องการผ้าที่มีลวดลายเส้นตรง แตกต่างกัน (p<.05) แต่
ต้องการผ้าที่ไม่มีลวดลาย (ผ้าพื้น) และผ้าที่มีลวดลายเส้นโค้ง ไม่แตกต่างกัน (p≥.05) และ
3) ด้านสีสันผ้า สตรีวัยผู้ใหญ่ต้องการผ้าสีพาสเทล สีโทนเย็นและสีเทา ในระดับมาก แต่ต้องการ
ผ้าสีดา สีขาวและสีโทนร้อน ในระดับปานกลาง โดยสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและตอนกลาง
ต้องการผ้าสีดา แตกต่างกัน (p<.05) แต่ต้องการผ้าสีพาสเทล สีโทนเย็น สีเทา สีขาวและ
สีโทนร้อน ไม่แตกต่างกัน (p≥.05)

Article Details

How to Cite
แต้มทอง ว., & นันทศาล ก. (2022). ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าฝ้ายตกแต่งสะท้อนน้ำของสตรีวัยผู้ใหญ่. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 3(2), 63–77. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/4296
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐดนย์ รุ่งเรืองกิจไกร. (2563). หน้ากากผ้าสะท้อนน้า. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=58666. 10 สิงหาคม 2563.

เดลินิวส์. (2558). ความหมายแห่ง ‘สี’ สื่อความชอบ...บ่งบอกบุคลิก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

https://www.dailynews.co.th/article/331376. 11 พฤษภาคม 2564.

นิภา เมธธาวีชัย. (2542). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2539). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า.

วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(1), 64-70.

ภาวดี อังค์วัฒนะ. (2563). นาโนเทค-สวทช. เปิดโรงงานต้นแบบสิ่งทอ พร้อมให้บริการเคลือบ สิ่งทอได้มากถึง 5 สมบัติในขั้นตอนเดียว . [ออนไลน์ ] . เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก :

https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_144244. 10

สิงหาคม 2563.

ภาสินี คณาเดิม. (2555). เสน่ห์ผ้าขาวม้าไทย ลายผ้าขาวม้าจากคนรุ่นเก่า พัฒนารูปแบบสู่คนรุ่นใหม่.

อุตสาหกรรมสาร. 54 (พฤศจิกายน-ธันวาคม), 16-17.

วริศรา เหมือนสุทธิวงศ์. (2563). อุตสาหกรรมผลิตสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก :

https://www.gsbresearch.or.th/wp- content/ uploads/2020/09/IN

_textile_8_63_ detail-1.pdf. 9 พฤษภาคม 2564.

สนั่น บุญลา. (2553). ความรู้เรื่องผ้าทอ. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ.

สุรีรักษ์ ประสาทพร. (บรรณาธิการเรียบเรียง). (2559). รู้ทันสุขภาพวัยท้างาน. กรุงเทพฯ : ยูโรปา เพรส.

อตินุช บุญงาม สุทัศนีย์ บุญโยภาส และ สุภา จุฬคุปต์. (2559). การพัฒนากระเป๋าคอมพิวเตอร์พกพา

จากผ้ายกเมืองนครตกแต่งสะท้อนน้ า. เรื่องเต็มการประชุมวิชาการและน้าเสนอ ผลงานวิจัยระดับชาติ

ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 “เสริมสร้างสหวิทยาการ ผสมผสาน วัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC” (น.

-1842). อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัย ราชธานี.

อัปเดตเทรนด์ ‘พฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละ Generation’ ปี 2021 ที่นักการตลาดควรรู้. (ม.ป.ป).

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.creativelivemarketing.com/ /generation-ปี-

-ที่นักการตลาดควรรู้/. 12 พฤษภาคม 2564.

Marketing Oops! Admin. (2552). Gen 40+ มาแรง แซงกลุ่ม Young Gen. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก :

https://www.marketingoops.com/ reports/behaviors/gen-40/.

พฤษภาคม 2564.

MGR Online. (2558). เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคไทยใน 3 GEN. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

https://mgronline.com/smes/detail/9580000110621. 9 พฤษภาคม 2564.