การออกแบบแฟชั่นชุดทำงานสตรีและบุรุษจากผ้าฝ้ายเข็นมือย้อมสีธรรมชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบ การตัดเย็บ และความพึงพอใจที่มีต่อเสื้อผ้าแฟชั่นชุดทำงานสตรีและบุรุษจากผ้าฝ้ายเข็นมือย้อมสีธรรมชาติ โดยวัสดุธรรมชาติที่ใช้ในการย้อมผ้าฝ้ายเข็นมือ ได้แก่ คราม กระถินเทศ คำแสด และมะเกลือ กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีและบุรุษที่ทำงานในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เขตสาทร กรุงเทพมหานคร จำนวน 170 คน แบ่งเป็นสตรี 85 คน และบุรุษ 85 คน ที่ถูกคัดเลือกโดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบชุด และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาข้อมูลทางสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าการออกแบบแฟชั่นชุดทำงานสตรีและบุรุษจากผ้าฝ้ายเข็นมือย้อมสีธรรมชาติ ได้แรงบันดาลใจมาจากความหลงใหลและรักในเส้นใยธรรมชาติ จากนั้นนำผ้าทอมาออกแบบชุดทำงานสตรีและบุรุษ คัดเลือกชุดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแฟชั่น 5 ท่าน คัดเลือกให้เหลือชุดทำงานสตรี 5 ชุดและบุรุษ 5 ชุด ผู้วิจัยนำชุดที่ผ่านการคัดเลือกไปสร้างต้นแบบ และนำไปสอบถามกลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบและตัดเย็บ ผลการประเมินความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (x̅=3.85) กลุ่มตัวอย่างทั้งสตรีและบุรุษมีความพึงพอใจเหมือนกันเป็นอันดับแรกคือ ด้านการออกแบบ
Article Details
References
กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2559). การศึกษาและพัฒนาการนำผ้าฝ้ายทอมือมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษากลุ่มหมู่บ้านผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. [ปริญญานิพนธ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ติณณา อุดม และวุฒิชัย ลิ่มเกิดสุขวงศ์. (2565). การออกแบบเสื้อผ้าบุรุษ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมเมืองเก่าสงขลา. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 4(2), 29-40.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 17). สามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นวลแข ปาลิวนิช. (2556). ความรู้เรื่องผ้าและเส้นใย ฉบั¬บปรับปรุง. ซีเอ็ดยูเคชั่น. https://se-ed.belibcloud.com/book-detail/8457
เบ้ะภารผ้าย้อมครามบ้านถ้ำเต่า สกลนคร. (2561, 1 เมษายน). ผ้าฝ้ายเข็นมือ. https://www.facebook.com/maepanpakram/posts/2039605312978803/?locale=th_TH
มันตราหัตถกรรม. (2561, 1 มีนาคม). ผ้าฝ้ายเข็นมือ. https://web.facebook.com/MantraCraftsTH/videos/1786497001410316/
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2562, 21 พฤศจิกายน). วัสดุธรรมชาติที่ให้สีต่าง ๆ. http://bit.ly/45Qt2b2
วัลภา แต้มทอง และกมลวรรณ นันทศาล. (2564). ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าฝ้ายสะท้อนน้ำของสตรีวัยผู้ใหญ่. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 3(2), 63-77.
วีระศักดิ์ ศรีลารัตน์. (2558). การพัฒนาลวดลายผ้าฝ้ายมัดหมี่ย้อมครามด้วยเทคนิคคณิตศิลป์ประเภท Tessellation เพื่อออกแบบชุดโอกาสพิเศษ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2563). มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย. https://www.soc.go.th/wp-content/uploads/2020/09/v63_272.pdf
สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). การย้อมสิ่งทอด้วยสีธรรมชาติ.http://siweb1.dss.go.th/repack/fulltext/IR%2041.pdf
Sorger, R., and Udale, J. (2012). The Fundamentals of Fashion Design. AVA Pub -lishing SA, United Kingdom.