ผลิตภัณฑ์งานใบตอง : การสร้างสรรค์รูปแบบถาดใบตอง

Main Article Content

ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ
ขจร อิศราสุชีพ
ธนกฤต จิรโชติเศวต

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้วิเคราะห์แนวทางการออกแบบและการสร้างสรรค์รูปแบบถาดใบตอง พบว่า การออกแบบถาดใบตองเป็น การสร้างสรรค์รูปแบบใหม่หรือดัดแปลงขึ้นใหม่ให้ดีขึ้น โดยใช้องค์ประกอบของการออกแบบ ประกอบด้วย รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบศิลป์ และทฤษฎีการออกแบบประกอบด้วย เอกภาพ ความสมดุล ความสัมพันธ์ทางศิลปะ การสร้างสรรค์ถาดใบตอง เป็นการสร้างสรรค์รูปแบบถาดใบตองใหม่ ๆ โดยใช้องค์ประกอบของการคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ การคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่ ใช้งานได้ และมีความเหมาะสม การคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ 2 ทางคือ เริ่มจากจินตนาการแล้วกลับสู่สภาพความเป็นจริง และเริ่มจากความรู้แล้วคิดต่อยอดสู่สิ่งใหม่ ส่วนขั้นตอนการคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย กำหนดเป้าหมายการคิด การแสวงหาแนวคิดใหม่ การประเมิน และคัดเลือกแนวคิด นอกจากนั้นองค์ประกอบที่ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ทัศนคติ บุคลิกภาพ ความสามารถทางสติปัญญา ความรู้ การคิด แรงจูงใจ สภาพแวดล้อม

Article Details

How to Cite
หงส์รัตนาวรกิจ ศ., อิศราสุชีพ ข., & จิรโชติเศวต ธ. (2023). ผลิตภัณฑ์งานใบตอง : การสร้างสรรค์รูปแบบถาดใบตอง. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 5(2), 98–108. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/2324
บท
บทความวิชาการ

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงสร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). บริษัทซัคเซส มีเดีย จำกัด.

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2560). ต้นแบบงานคหกรรมศาสตร์ สร้างสรรค์สู่สากล. บริษัทเจริญทรัพย์การพิมพ์ จำกัด.

จอมขวัญ สุวรรณรักษ์. (2547). การแกะสลักผัก ผลไม้ และงานใบตอง. โอเดียนสโตร์.

ประเสริฐ พิชยะสุนทร. (2555). ศิลปะและการออกแบบเบื้องต้น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณีรัตน์ จันทนะผะลิน. (2540). งานใบตอง (พิมพ์ครั้งที่ 3) : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

เยื้อน ภาณุทัต. (2509). วิธีประดิษฐ์ใบตองเป็นภาชนะต่างๆ. กรุงเทพการพิมพ์.

สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์. (2547). หนังสือชุดศัพท์คหกรรมศาสตร์ เล่ม 1 ศัพท์ศิลปะประดิษฐ์. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด.

เสรี เรืองเนตร์. (2549). ศิลปะประยุกต์. โอเดียนสโตร์.

สำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง. สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2497). วัฒนธรรมไทย ทางประณีตศิลปการจัดดอกไม้สด. โรงพิมพ์ภักดีประดิษฐ์.

อรัญ วานิชกร. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิรัติ โสฬศ. (2549). ศิลปะประดิษฐ์. โอเดียนสโตร์.

อัครพล ไวเชียงค้า. (2558) ทัศนคติต่อการอนุรักษ์งานใบตอง ดอกไม้ เครื่องสดของนักศึกษาคณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 9 (1), 23-37.