สิมวัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
สิมวัดเชียงทอง ที่เป็นศูนย์รวมศิลปะแขนงต่าง ๆ คือ สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ของล้านช้าง เพราะว่าวัดเชียงทองได้ รวบรวมงานด้านสถาปัตยกรรมของแต่ละยุคมาผสมผสานประยุกต์สร้างขึ้น อย่างสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีการนำเอาวัสดุที่มีค่า เช่น ทองคำ อัญมณีและ ดิน ไม้ สีธรรมชาติมาเป็นส่วนประกอบสำคัญ ประดับลงบนงานไม้แกะสลักได้งดงามลงตัวโดยเฉพาะ หน้าบัน แขนนาง บานประตู สีหน้าท่าทาง ตลอดถึงการติดมุกแก้วอันวิจิตรปรากฏอยู่ เป็นความอ่อนช้อยงดงามบริบูรณ์ทางด้านศิลปะ สร้างขึ้นอย่างมีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สิมโครงสร้างเตี้ย หลังคาหลดหลั่นซ้อนกันสามตับแลดูด้านหน้าคล้ายแม่ไก่กกไข่ คล้ายจอมแห มียอดช่อฟ้า 17 ยอด ซึ่งมีนักประวัติศาสตร์ศิลปะให้นิยามความหมาย อิงตามหลักความเชื่อของไตรภูมิโดยใช้พุทธสัญลักษณ์ และคติจักรวาลวิทยามาใช้ จึงมีพระพุทธเจ้าเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และมีคุณค่าทางด้านจิตใจ สิมวัดเชียงทองเปรียบดุจยานพาหนะทางจิตวิญญาณ และเรื่องราวที่ปรากฏทางงานพุทธศิลป์ องค์ประกอบ รูปแบบ รูปทรง ภูมิปัญญาทางศิลปกรรมของล้านช้าง แสดงให้เห็นถึงความงดงาม ละเอียด วิจิตร สงบ สมถะ เรียบง่าย สามารถนำผู้คนที่เข้าไปได้สัมผัสความสงบสุขทางจิตใจ ผ่านงานศิลปะและวิถีปฏิบัติของพระสงฆ์สามเณรที่สืบทอดมายาวนาน
Article Details
References
กิติยา อุทวิ. (2562). สัมภาษณ์. 25 มีนาคม.
เจ้าคำมั่น วงกรัตนะ. (2507). ตำนานเมืองหลวงพระบาง. หลวงพระบาง: เวียงกรุง.
ธีรยุทธ อินทจักร. “สุขายะทางรูปทรงในงานสถาปัตยกรรมพระอุโบสถวัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง.” JED: วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม. 4(2), 6.
ธีระพงศ์ โพธิ์มั่น. (2553). การท่องเที่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่: กรณีศึกษาวัดเชียงทองและปริมณฑลหลวงพระบาง สปป. ลาว. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
แผนกกรมมรดกโลกแขวงหลวงพระบาง. (2544). แผนผังปกปักรักษาและทำให้มีคุณค่า ในหมวดแผนผังแต่ละหัวเมือง. หลวงพระบาง: กระทรวงวัฒนธรรม.
พระไพวัน มาลาวง. (2562). สัมภาษณ์. 21 มีนาคม.
พระสาธุใหญ่อ่อนแก้ว. (2562). สัมภาษณ์. 21 มีนาคม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรลัญจก์ บุญยสุรัตน์. (2544). วิหารล้านนา. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.
วรลัญจก์ บุญยสุรัตน์. (2548). ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.
วรลัญจก์ บุญยสุรัตน์. (2555). วัดในหลวงพระบาง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.
สันติ เล็กสุขุม. (2539). “สัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาล”. ศิลปวัฒนธรรม. 17(6), 180.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2530). เจ๊กปนลาว. กรุงเทพมหานคร: ศิลปวัฒนธรรม.
สุวิทย์ จิระมณี. (2545). ศิลปะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในวัฒนธรรมไทย-ลาว. ชลบุรี: คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.