“เฮือนผ้า” ความเชื่อของคนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “เฮือนผ้า” ความเชื่อของคนลาว พบว่า พิธีกรรม สร้างบ้านให้ผู้ตายดั้งเดิม ลูกหลาน ญาติพี่น้อง จะสร้างไว้ที่ป่าช้า เพราะเชื่อว่าผู้ตายจะมีวิมานหรือที่อยู่อาศัยทำให้วิญญาณของผู้ตายไม่เร่ร่อน และจะเตรียมอาหารสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆให้ผู้ตายหรือผี ใช้ก่อนที่จะไปเกิดในภพใหม่ ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่แม้จะนับถือพระพุทธศาสนา แต่พิธีกรรมการสร้างบ้าน ก็ยังคงสืบทอดประเพณีเดิมของตนเองที่มักจะทำที่ป่าช้า โดยสร้างเป็นเรือนแอ่วหรือเฮือนผีตรงพื้นที่ที่มีการเผาหรือฝัง
ต่อมา เมื่อได้รับอิทธิพลพระพุทธศาสนาเข้ามาจึงเกิดการผสมผสานลักษณะของการสร้างเรือนน้อยกับประเพณีแบบเดิม เช่น มีการสร้างบ้านแล้วเอาไปถวายให้วัดหรือพระสงฆ์ แล้วทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเชื่อว่าผู้ตายจะได้รับผลบุญและจะได้ไม่อดอยาก เฮือนผ้าจะมีลักษณะเหมือนบ้านทำจากโครงไม้และตกแต่งหรือกรุด้วยผ้าทั้งหลัง ซึ่งภายในจะมีข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันเพื่อให้ผู้ตายนำไปใช้ในภพหน้า ประเพณีเฮือนผ้าเป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความรักความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ การจัดงานจึงเป็นการรวมญาติแสดงออกถึงความรักสามัคคีในหมู่ญาติพี่น้อง เป็นการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ผ่านวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อเรื่องเฮือนผ้า
Article Details
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (ม.ป.ป.). พงศาวดารลาว ฉบับกระทรวงศึกษาธิการลาว. มหาสารคาม : สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
ชนิดา ตั้งถาวรสิริกุล. (2541). สื่อสัญลักษณ์ผ้าลาวเวียงจันท์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และนนุษยศาสตร์.
ดวงเดือน บุนยาวง และโอทอง คำอินซู. (2540). ฮีตคองประเพณีในมหากาพย์ท้าวฮุ่งท้าวเจื่อง. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
ทรงคุณ จันทจร. (2551). แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทรงยศ วีระทวีมาศ. (2548). คติสัญลักษณ์ของพื้นที่และการจัดการใช้พื้นที่ของวัดในชุมชนหมู่บ้านผู้ไท: รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. ขอนแก่น: คณะสหปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (2553). พุทธศาสนากับสังคมการเมืองในอุษาคเนย์. หนังสือที่ระลึก ฉลองครบรอบ 10 ปีโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.ปรานี วงษ์เทศ. (2543). สังคมและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์. กรุงเทพมหานคร: ศิลปวัฒนธรรม.
คณะราชการกรมพระคลังมหาสมบัติ. (2473). พงศาวดารล้านช้าง. พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ. โรงพิมพ์ธรรมพิทยาคาร.
พระมหาสาลี อานุจาโร. (2533). เทศนาฉลองต่างๆ 50 กัน. สหวันเขต.
ภัททิยา ยิมเรวัต. (2544). ประวัติศาสตร์สิบสองจุไท. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์.
มหาสิลา วีระวงส์. (2001). ประวัติศาสตร์ลาว แต่บูรานถึง 1975. เวียงจันทน์: หอสะหมุดแห่งชาติ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคส์.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2535). มนุษย์โลกและความหมายของชีวิต. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2552). เรือนไทย บ้านไทย. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.
เสถียรโกเศศ. (2515). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: บรรณาคาร.
Population Census 2005. (2011). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : Lao Statistics Bureau: http://www.nsc.gov.la/ [19 May 2019].
สัมภาษณ์ จิด ยอดบูชา (ผู้ใหญ่บ้าน). การทำบุญหาผู้ตาย. ที่บ้านปากตุง เมืองปากลาย แขวงไชยบุรี, สปป. ลาว. 15 เมษายน 2019.
สัมภาษณ์ แดง แก้ววิลัย. ที่มาของเฮือนผ้า. ที่บ้านปากตุง เมืองปากลาย แขวงไชยบุรี, สปป. ลาว. 15 เมษายน 2019.
สัมภาษณ์ ฝั้น อินทราช. เรื่ององค์ประกอบของเฮือนผ้า. ที่บ้านปากตุง เมืองปากลาย แขวงไชยบุรี สปป. ลาว, 15 เมษายน 2019.