ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

ข้อมูลสำหรับการเตรียมต้นฉบับ

เมื่อท่านได้ส่งผลงานทางวิชาการเข้ามาเผยแพร่กับวารสารวิชาการศาลปกครอง กองบรรณาธิการมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

  • งานเขียนประเภทบทความทางวิชาการ

 - กรณีบรรณาธิการประจำฉบับ เห็นว่า บทความนั้นไม่ผ่านเกณฑ์การเผยแพร่ในวารสารวิชาการศาลปกครอง บรรณาธิการประจำฉบับสามารถปฏิเสธการรับบทความนั้นได้ โดยไม่ต้องมอบผู้ตรวจประเมินบทความ

- กรณีบรรณาธิการประจำฉบับ เห็นว่า บทความนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถเผยแพร่ในวารสารวิชาการศาลปกครองได้ บรรณาธิการประจำฉบับจะพิจารณาทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจประเมินบทความ โดยคำนึงถึงสาขาวิชาของผู้ตรวจประเมินให้ตรงกับเนื้อหาของบทความ และผู้เขียนกับผู้ประเมินไม่มีส่วนได้เสียต่อกัน (บทความจะต้องถูกประเมินโดยบุคคลภายนอกสถาบันหรือนอกหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด และนอกสำนักงานศาลปกครอง) เมื่อกองบรรณาธิการได้ส่งงานวิชาการของท่านให้กับผู้ตรวจประเมินบทความ กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบว่า งานวิชาการของท่านอยู่ระหว่างการตรวจประเมิน

- เมื่อบทความผ่านการตรวจพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิไม่กำหนดให้มีการแก้ไขบทความ ฝ่ายเลขานุการกองบรรณาธิการวารศาลวิชาการศาลปกครองจะเสนอบทความต่อกองบรรณาธิการเพื่อพิจารณาต่อไป หากกองบรรณาธิการไม่มีข้อสังเกตหรือข้อคัดค้าน ผลงานทางวิชาการเรื่องนั้น ก็จะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารวิชาการศาลปกครอง

- หากผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า งานวิชาการของท่านไม่ควรได้รับการตีพิมพ์ งานวิชาการของท่านจะไม่ได้รับการตีพิมพ์ แต่หากผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความเห็นว่าบทความของท่านควรได้รับการตีพิมพ์โดยมีการแก้ไข กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ และหากผู้เขียนได้แก้ไขงานวิชาการแล้วเสร็จ กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบว่างานวิชาการของท่านจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
ศาลปกครองฉบับใด หรือจะต้องรอการตีพิมพ์ไปก่อน และแจ้งกำหนดการตีพิมพ์ให้ท่านทราบในภายหลัง

  • งานเขียนประเภทอื่นที่ไม่ใช่บทความทางวิชาการ เช่น หมายเหตุท้ายคำพิพากษา บทวิเคราะห์คำพิพากษาหรือความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ปกิณกะ และคำแปลคำพิพากษาศาลต่างประเทศ ซึ่งบรรณาธิการประจำฉบับสามารถที่จะพิจารณาเพื่อลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการศาลปกครองได้เอง โดยบรรณาธิการประจำฉบับจะเป็นผู้ตรวจประเมินผลงานทางวิชาการเรื่องนั้นเอง หรือจะมอบให้บรรณาธิการท่านอื่นช่วยตรวจสอบความถูกต้องด้วยก็ได้ และเมื่อบรรณาธิการประจำฉบับได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลงานทางวิชาการเรื่องนั้นสมควรได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารวิชาการศาลปกครอง จะแจ้งฝ่ายเลขานุการเพื่อให้ฝ่ายเลขานุการเสนอผลงานทางวิชาการดังกล่าวให้กองบรรณาธิการพิจารณาต่อไป หากกองบรรณาธิการไม่มีข้อสังเกตหรือข้อคัดค้าน ผลงานทางวิชาการเรื่องนั้น ก็จะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารวิชาการศาลปกครอง
  • รูปแบบงานวิชาการ

    1. จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ด้วยฟอนต์ TH Sarabun New ในส่วนเนื้อหาให้พิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาด 16 pt และในส่วนเชิงอรรถให้พิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาด 14 pt ใช้ตัวเลขอารบิกใช้การเว้นวรรคบรรทัดเดียว (single-line spacing) กั้นหน้ากระดาษ บน และ ล่าง 1 นิ้ว (54 เซนติเมตร) ซ้าย และ ขวา 1.1 นิ้ว (2.8 เซนติเมตร)
    2. มีบทคัดย่อและมีคำสำคัญ ในกรณีที่บทความเขียนขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้แปลชื่อบทความเป็นภาษาไทยด้วย (เฉพาะบทความทางวิชาการ) สำหรับบทคัดย่อและคำสำคัญภาษาอังกฤษผู้เขียนจะจัดทำมาด้วยหรือไม่ก็ได้
    3. จัดทำไฟล์ผลงานแยกออกจากไฟล์ประวัติผู้เขียน โดยไฟล์ประวัติผู้เขียนให้ระบุชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง และสังกัดของผู้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมถึงระบุอีเมลและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้เขียน  โดยท่านสามารถดาวโหลดแบบฟอร์มการจัดทำผลงานทางวิชาการได้ที่  https://bit.ly/3ryE7vp หรือตาม QR code ด่านล่างนี้

                                       

    4. การแปลคำศัพท์ภาษาต่างประเทศให้แปลและวงเล็บคำภาษาต่างประเทศไว้ท้ายคำแปลเพียงครั้งเดียว เช่น นิติกรรมทางปกครอง (acte administratif)
    5. รูปแบบการอ้างอิงให้ใช้การอ้างอิงแบบเชิงอรรถแทรกท้ายหน้ากระดาษ โดยจะใช้อ้างอิงแบบ APA หรือ Turabian ก็ได้ และให้แจ้งมาพร้อมกับการส่งบทความ สำหรับการอ้างอิงหนังสือภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ผู้เขียนไม่ต้องแปลชื่อหนังสือเป็นภาษาอังกฤษ และสามารถใช้การอ้างอิงตามรูปแบบที่ได้รับการยอมรับในภาษานั้น ๆ ได้ แต่ไม่ควรใช้ตัวอักษรย่อในการอ้างอิง
    6. ผู้เขียนเป็นผู้รับรองความถูกต้องของผลงาน ดังนั้น ผู้เขียนจึงควรตรวจสอบการใช้ภาษาและไวยากรณ์ให้ถูกต้องตามหลักภาษาก่อนเสนอผลงานเพื่อพิจารณาตีพิมพ์

     

  1.