วารสารวิชาการศาลปกครอง https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ <p>วารสารวิชาการศาลปกครองมีนโยบาย รับตีพิมพ์บทความทางวิชาการด้านกฎหมายมหาชน กฎหมายปกครอง และกระบวนการยุติธรรมทางปกครองของประเทศไทยและนานาประเทศ</p> สำนักงานศาลปกครอง th-TH วารสารวิชาการศาลปกครอง ข้อสังเกตต่อความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการที่เอกชนผลิตน้ำประปาขายให้แก่การประปาส่วนภูมิภาค (เรื่องเสร็จที่ 235/2566) https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ/article/view/3283 ปฐมน แป้นเหลือ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศาลปกครอง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-30 2024-01-30 23 3 212 225 สหภาพยุโรป : การใช้หลักการระวังไว้ก่อน (Precautionary Principle) เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ/article/view/3281 ศิขรินทร์ ศรีสุข Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศาลปกครอง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-30 2024-01-30 23 3 226 229 บทสัมภาษณ์ชีวประวัติและผลงานของศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ/article/view/3405 อานันท์ กระบวนศรี Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศาลปกครอง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-30 2024-01-30 23 3 230 261 ปัญหาทางกฎหมายในการเรียกเงินคืนโดยหน่วยงานของรัฐ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ/article/view/2141 <p> ปัญหาทางกฎหมายในการเรียกเงินคืนโดยหน่วยงานของรัฐเป็นปัญหาเกี่ยวกับการตีความกฎหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งเกิดขึ้นจากกรณีที่วินิจฉัยว่าการเรียกเงินคืนโดยหน่วยงานของรัฐไม่ได้เกิดจากคำสั่งทางปกครอง โดยเกิดขึ้นในบริบทของศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง การตีความโดยศาลยุติธรรมเป็นการนำหลักการติดตามเอาทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 มาใช้ในการเรียกเงินคืน ในขณะที่ศาลปกครองและคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนำหลักลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาใช้ ซึ่งการตีความโดยใช้หลักกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์คืนมาใช้กับการเรียกเงินคืนเป็นการตีความที่มีข้อถกเถียงทางวิชาการว่าไม่เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีดังกล่าวยังคงถือปฏิบัติเช่นนี้ และเป็นปัญหาในทางปฏิบัติในการดำเนินคดีระหว่างหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ ซึ่งต้องตั้งรูปเรื่องในการฟ้องคดีแบบติดตามเอาทรัพย์คืน โดยผู้เขียนเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเรียกเงินคืนของหน่วยงานของรัฐ โดยการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ที่เป็นเงินคืนนี้ให้ชัดเจนว่าสามารถทำได้แค่ไหน เพียงใด และเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติในการเรียกเงินคืนโดยหน่วยงานของรัฐให้ถูกต้อง นอกจากนั้น ปัญหาเรื่องอายุความอาจมีการแก้ไขให้ยาวขึ้นเป็น 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี และต้องพิจารณาถึงความสุจริตของผู้ได้รับเงินด้วย ส่วนกรณีดอกเบี้ยเรื่องลาภมิควรได้นั้น ควรกำหนดให้มีการเรียกดอกเบี้ยจากเงินดังกล่าวได้ด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้ศาลยุติธรรมต้องใช้หลักการติดตามเอาทรัพย์คืนมาใช้กับทรัพย์ประเภทเงินตรา</p> โชคชัย เนตรงามสว่าง เพียรศักดิ์ สมบัติทอง Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศาลปกครอง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-30 2024-01-30 23 3 1 30 การพิจารณาความรับผิดของฝ่ายปกครองในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมและกำกับดูแล : ศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น (ตอนที่ 1) https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ/article/view/2219 <p> การละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมและกำกับดูแลมีลักษณะที่แตกต่างจากการละเลยต่อหน้าที่โดยทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับนั้นโดยหลักเกิดจากการกระทำของบุคคลที่สามซึ่งเป็นเอกชน ฝ่ายปกครองไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรง แต่เป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลการกระทำของเอกชนที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และหน้าที่ในการควบคุมและกำกับดูแลยังเป็นกรณีที่ฝ่ายปกครองมักมีดุลพินิจค่อนข้างมากในการพิจารณาว่าจะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเมื่อใด และอย่างไร บทความนี้จึงเห็นว่า การจะให้รัฐหรือฝ่ายปกครองต้องรับผิดจากการละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมและกำกับดูแล ควรมีหลักเกณฑ์การพิจารณาความรับผิดที่เข้มงวดและแตกต่างไปจากกรณีการละเลยต่อหน้าที่โดยทั่วไป โดยได้ศึกษาเปรียบเทียบหลักกฎหมายและคำพิพากษาของศาลในประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐจากการละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมและกำกับดูแลเพื่อนำไปสู่การค้นหาว่าหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการพิจารณาความรับผิดของรัฐในกรณีดังกล่าวควรเป็นเช่นไร</p> กฤตยา ธีรนันทน์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศาลปกครอง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-30 2024-01-30 23 3 31 57 มาตรการทางกฎหมายบางประการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอากาศสะอาด : ศึกษาเปรียบเทียบสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ/article/view/2148 <p> สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่มีเป้าหมายและมาตรการในการรักษาคุณภาพอากาศให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เนื่องจากมีหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดูแลเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน และมีระบบโครงสร้างกฎหมายด้านอากาศโดยเฉพาะ ได้แก่ กฎหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) และมีมาตรฐานที่เกี่ยวกับการจัดการคุณภาพอากาศที่สำคัญในการควบคุมดูแลคุณภาพอากาศ เช่น มาตรฐานคุณภาพอากาศแห่งชาติ (National Ambient Air Quality Standards - NAAQS) มาตรฐานการปล่อยมลพิษทางอากาศที่เป็นอันตรายแห่งชาติ (National Emission Standards for Hazardous Air Pollutants - NESHAPs) โดยที่ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM<sub>2.5</sub>) ที่เกินมาตรฐานคุณภาพอากาศ ซึ่งเมื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดการปัญหาดังกล่าวของสหรัฐอเมริกาแล้วจะเห็นได้ว่า แม้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นการเฉพาะก็ตาม แต่ยังมีมาตรการทางกฎหมายที่สามารถพัฒนาได้ มีฝ่ายปกครองที่มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพอากาศ ตลอดจนฝ่ายตุลาการ ซึ่งได้แก่ศาลปกครองยังมีบทบาทที่จะผลักดันให้สภาพอากาศในประเทศไทยมีคุณภาพที่ดีขึ้นอีกด้วย บทความชิ้นนี้จึงนำเสนอภาพรวมของกฎหมายอากาศสะอาดและมาตรการทางกฎหมายของสหรัฐอเมริกา เพื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายและมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพอากาศของประเทศไทย และเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM<sub>2.5</sub>) ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บทความชิ้นนี้ยังได้นำเสนอคำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ที่ ส. 1/2564 ซึ่งเป็นตัวอย่างของคำพิพากษาที่วินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว</p> ธีรัตม์ พรทวีทรัพย์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศาลปกครอง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-30 2024-01-30 23 3 58 80 กฎหมายรัฐธรรมนูญสิ่งแวดล้อม : แนวคิดและหลักการพื้นฐาน https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ/article/view/1996 <p> แนวคิดในการทำให้หลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อมซึ่งกำเนิดและพัฒนาขึ้นจากประชาคมกฎหมายในระดับกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลใช้บังคับทั่วโลกและกฎหมายระดับภูมิภาค (ยุโรป) ได้รับการรับรองคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ หรือเรียกว่ามีสถานะเป็น “กฎหมายรัฐธรรมนูญสิ่งแวดล้อม” เป็นส่วนหนึ่งของกระแสแนวความคิดว่าด้วยรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionnalisme) ที่ให้ความสำคัญและความมีคุณค่าทางกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร โดยแนวคิดว่าด้วยรัฐธรรมนูญนิยมเป็นทฤษฎีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับหลักนิติรัฐ หลักประชาธิปไตย และทฤษฎีรัฐธรรมนูญประการอื่น บทความนี้จะได้ศึกษาแนวคิดและความพยายามในการทำให้หลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่กำเนิดในลักษณะเป็นหลักการสากลระหว่างประเทศได้รับการบัญญัติรับรองคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศไทย รวมทั้งศึกษารายละเอียดของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากส่วนที่ 1 แนวคิดในการทำให้หลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อมมีค่าบังคับในระดับรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ ต่อด้วยมิติทางการเมืองอันเป็นนิตินโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ในส่วนที่ 2 สาระสำคัญของการปฏิรูปประเทศด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อนำมาสู่มิติทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่ 3 หลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งประกอบด้วยหลักการพื้นฐานว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนและหลักบูรณาการทางสิ่งแวดล้อม หลักการป้องกันล่วงหน้าและหลักการระวังไว้ก่อน หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย และหลักการว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมต้องไม่ถดถอยลง พร้อมนำเสนอข้อสังเกตและตัวอย่างคำพิพากษาของศาลที่ได้วินิจฉัยข้อพิพาทโดยอาศัยหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญสิ่งแวดล้อมโดยสังเขป ซึ่งจากการศึกษาทำให้ทราบถึงพัฒนาการของกฎหมายสิ่งแวดล้อมในมิติของกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศไทย</p> อภิญญา แก้วกำเหนิด Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศาลปกครอง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-30 2024-01-30 23 3 81 110 การควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยชี้ขาดความผิดวินัยการคลังและการงบประมาณ (วินัยการเงินการคลังของรัฐ) ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินโดยศาลปกครอง https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ/article/view/2140 <p> ศาลปกครองเป็นหนึ่งในองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาวินัยทางการคลังของประเทศ ในฐานะองค์กรตุลาการที่มีอำนาจตรวจสอบว่าการกระทำของฝ่ายปกครองเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายการคลังหรือไม่ ในช่วงเวลาที่มีการปฏิรูปกฎหมายการคลังภายใต้กรอบที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ศาลปกครองได้ประกาศจัดตั้งแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณในศาลปกครอง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดในการรักษาวินัยทางการคลังที่ต้องการให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีปกครองที่เกี่ยวกับวินัยการคลังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอำนาจของศาลปกครองในการควบคุมตรวจสอบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินในคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ และวิเคราะห์แนวคำพิพากษาของศาลปกครองในคดีประเภทดังกล่าว</p> อานันท์ กระบวนศรี Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศาลปกครอง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-30 2024-01-30 23 3 111 143 บทบรรณาธิการวารสารวิชาการศาลปกครอง ปีที่ 23 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม) 2566 https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ/article/view/3748 <p>บทบรรณาธิการวารสารวิชาการศาลปกครอง ปีที่ 23 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม) 2566</p> ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-30 2024-01-30 23 3 บทวิเคราะห์คดี : ความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอนุมัติให้ข้าราชการมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านโดยให้มีผลย้อนหลัง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อร. 33/2565) https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ/article/view/2315 นิติกร ชัยวิเศษ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศาลปกครอง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-30 2024-01-30 23 3 144 175 บทวิเคราะห์คดี : หลักความเป็นกลางในกรณีที่เจ้าหน้าที่รายเดียวกันมีส่วนร่วมในกระบวนการทางวินัยหลายขั้นตอน และการผ่อนคลายความเคร่งครัดของความชอบด้วยกฎหมายในเชิงรูปแบบของคำสั่งทางปกครอง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ ฟบ. 2/2564) https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ/article/view/2092 วิชชา เนตรหัสนัยน์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศาลปกครอง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-30 2024-01-30 23 3 176 194 บทวิเคราะห์คดี : ความรับผิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในกรณีน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คส. 47/2556 และคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองสงขลา) ที่ ส. 203/2556) https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ/article/view/1545 <p>ผู้ฟ้องคดีจำนวน 1,443 คน ซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาในกระชังและประมงชายฝั่ง ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดี (กรมเจ้าท่า) ละเว้นหน้าที่ในการขจัดหรือป้องกันมลพิษทางน้ำเนื่องจากเหตุน้ำมันรั่วไหลดังกล่าว และละเลยต่อหน้าที่ปล่อยให้เรือของผู้ทำละเมิดออกจากท่าเทียบเรือโดยไม่ได้ดำเนินการขจัดหรือป้องกันมลพิษที่ก่อขึ้นและชดใช้ค่าเสียหายให้กับประชาชน ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายจึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีพร้อมดอกเบี้ย และให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการฟื้นฟูความเสียหายที่ชุมชนได้รับให้กลับคืนสู่สภาพเดิม รวมทั้งวางมาตรการในการป้องกันเหตุน้ำมันรั่วหรือมาตรการให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดโดยเร็ว ศาลปกครองสงขลาวินิจฉัยว่า ผู้ถูกฟ้องคดีไม่มีหน้าที่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อขจัด ป้องกัน และแก้ไขมลพิษที่เกิดจากเหตุน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล หรือเรียกค่าใช้จ่ายจากเจ้าของเรือหรือตัวแทนเจ้าของเรือ และมิได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติในการขจัด ป้องกัน และแก้ไขมลพิษที่เกิดจากเหตุน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล รวมถึงไม่มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี ศาลปกครองสงขลาพิพากษายกฟ้องและผู้ฟ้องคดีมิได้อุทธรณ์คำพิพากษานี้ต่อศาลปกครองสูงสุด</p> <p>บทวิเคราะห์คดีนี้ได้วิเคราะห์หน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีในการขจัด ป้องกัน และแก้ไขมลพิษที่เกิดจากเหตุน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลตามกฎหมาย 3 ฉบับ คือ (1) มาตรา 119 ทวิ มาตรา 120 และมาตรา 204 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ให้อำนาจหน้าที่แก่ผู้ถูกฟ้องคดีในการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดแต่มิใช่หน้าที่ในการขจัด ป้องกัน และแก้ไขมลพิษที่เกิดจากเหตุน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล และมาตรา 121 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 เป็นอำนาจหน้าที่ในการขจัดสิ่งกีดขวางอันอาจเป็นอันตรายแก่การเดินเรือเท่านั้น แต่มิใช่การรักษาคุ้มครองสิ่งแวดล้อมหรือการประกอบอาชีพของประชาชน (2) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน พ.ศ. 2547 และแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม 2545 ซึ่งมีการแบ่งระดับการรั่วไหลของน้ำมันลงสู่แหล่งน้ำเป็น 3 ระดับ และในคดีนี้มีน้ำมันรั่วไหลอยู่ในระดับที่ 1 คือ ไม่เกิน 20 ตัน ผู้ถูกฟ้องคดีจึงยังไม่มีภาระหน้าที่ในการขจัดหรือป้องกันและแก้ไขมลพิษที่เกิดจากเหตุน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล แต่มีข้อสังเกตว่า เหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล 3 ครั้ง ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2565 มี 2 เหตุการณ์เป็นน้ำมันรั่วไหลระดับที่ 2 ซึ่งหน่วยงานของรัฐภายในประเทศมีภาระหน้าที่ตามแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ และการประเมินปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลตามข้อมูลของกรมเจ้าท่ามักจะน้อยกว่าข้อมูลจากบริษัทเอกชนเสมอ ความแตกต่างนี้มากพอที่จะกำหนดภาระหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ศาลปกครองจึงควรให้ความสำคัญกับการแสวงหาข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าว และ (3) มาตรา 96 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งศาลปกครองสงขลาวินิจฉัยในคดีนี้ว่า เป็นการรับรองหลักความรับผิดโดยเคร่งครัด (Strict Liability) และหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter-Pays Principle) หน่วยงานของรัฐจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษนั้น แต่ที่จริง หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายกำหนดว่า ผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมมลพิษเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมจึงรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดของทางราชการในการขจัดมลพิษที่เกิดขึ้น ตามมาตรา 96 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 &nbsp;นอกจากนี้ มาตรา 67 วรรคสอง และวรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองสิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ จึงมีประเด็นที่น่าสนใจว่า สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องคดีนี้มีผลในทางปฏิบัติหรือไม่ เหตุใดการยื่นฟ้องคดีนี้จึงต้องแยกสำนวนคดีออกเป็นการฟ้องคดีของบุคคล 1,443 คดี</p> วิชญ์พาส พิมพ์อักษร Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศาลปกครอง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-01-30 2024-01-30 23 3 195 211