ข้อพิจารณาเกี่ยวกับหลักการป้องกัน (Principle of Prevention) และหลักการระวังไว้ก่อน (Precautionary Principle) ในกฎหมายสิ่งแวดล้อม ของเครือรัฐออสเตรเลียและประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการป้องกัน (Principle of Prevention) และหลักการระวังไว้ก่อน (Precautionary Principle) เป็นหลักการทางสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั้งในระดับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในของประเทศต่าง ๆ สำหรับในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับเงื่อนไข และขอบเขตในการใช้ทั้งสองหลักการนี้ทั้งในบทบัญญัติแห่งกฎหมายและในการวินิจฉัยคดีของศาล บทความนี้จึงนำเสนอข้อมูลและบทวิเคราะห์ในแง่มุมดังกล่าว โดยศึกษาเปรียบเทียบกรณีของประเทศไทยกับเครือรัฐออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศแรก ๆ ที่นำหลักการระวังไว้ก่อนมากำหนดไว้ในระดับนโยบาย และในกฎหมายของตน จากการศึกษาปรากฏว่า แนวทางในการปรับใช้ทั้งสองหลักการของเครือรัฐออสเตรเลียมีความชัดเจนมากกว่าในประเทศไทย เนื่องจากมีกฎหมายหลักด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมรับรองหลักการดังกล่าวโดยเฉพาะหลักการระวังไว้ก่อนไว้โดยตรง และศาลได้วินิจฉัยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การใช้และความแตกต่างระหว่างสองหลักการนี้ด้วย ส่วนในประเทศไทยนั้น สถานะของทั้งสองหลักการนี้โดยทั่วไปยังไม่ชัดเจนนัก แม้จะปรากฏแนวคิดของทั้งสองหลักการในกฎหมายหลายฉบับและเริ่มมีกฎหมายเฉพาะบางฉบับบัญญัติรับรองไว้โดยตรง สำหรับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองไทย ปัจจุบันยังไม่ปรากฏว่าศาลปกครองได้วางแนวทางหรือหลักเกณฑ์ในการปรับใช้หรือวินิจฉัยแบ่งแยกทั้งสองหลักการออกจากกันอย่างชัดเจนแต่อย่างใด โดยศาลมักจะวินิจฉัยไปตามแนวคิดที่ว่า “การป้องกันดีกว่าการแก้ไข” ในส่วนท้ายของบทความนี้ ผู้เขียนได้มีข้อเสนอแนะว่าควรเพิ่มเติมบทบัญญัติที่รับรองหลักการป้องกันและหลักการระวังไว้ก่อนอย่างชัดแจ้งและกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้และนิยามของทั้งสองหลักการไว้ในกฎหมายต่าง ๆ ให้มากขึ้น โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และโดยที่องค์ความรู้หรือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มีบทบาทที่สำคัญมากต่อการปรับใช้หลักการดังกล่าวในการพิจารณาคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของศาล กระบวนการในการคัดเลือกและตั้งพยานผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งทั้งในเรื่องของคุณสมบัติและความเป็นกลาง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
หนังสือและบทความ
หนังสือและบทความภาษาต่างประเทศ
A Deville and R Harding, Applying the Precautionary Principle (Federation Press 1997)
ACH Kiss and D Shelton, International Environmental Law (2nd ed, Transnational Publishers 2000)
Arie Trouwborst, ‘Prevention, Precaution, Logic and Law – The Relationship between the Precautionary
Principle and the Preventative Principle in International Law and Associated Questions,’ (2009) 2
Erasmus Law Review 105
Brian Preston, ‘The Australian Experience on Environmental Law’ (2018) 6 Environmental and Planning Law
Journal 637
C Barton, ‘The Status of the Precautionary Principle in Australia: Its Emergence in Legislation and as a
Common Law Doctrine’ (1998) 2 Harvard Environmental Law Review 509
C Tollefson and J Thornback, ‘Litigating the Precautionary Principle in Domestic Courts’ (2008) 19 Journal of
Environmental Law and Practice 33
D Bodansky, ‘Scientific Uncertainty and the Precautionary Principle’ (1991) 7 Environment 4
D Farrier ‘Factoring Biodiversity Conservation into Decision-Making Processes: The Role of
the Precautionary Principle’ in R Harding and E Fisher (eds) Perspectives on the Precautionary Principle
(Federation Press 1999)
D Freestone and Z Makuch, ‘The New International Environmental Law of Fisheries:
The 1995 UN Straddling Stocks Convention’ (1996) 7 Yearbook of International Environmental Law 3
D Freestone, ‘International Fisheries Law Since Rio: The Continued Rise of the Precautionary Principle’ in A
Boyle and D Freestone (eds.) International Law and Sustainable Development (Oxford: Oxford
University Press 1999) 139
Deborah C Peterson, ‘Precaution: Principles and Practice in Australian Environmental
and Natural Resource Management’ (2006) 4 Australian Journal of Agricultural and Resource Economics 469
DM Dzidzornu, ‘Four Principles in Marine Environment Protection: A Comparative Analysis’ (1998) 29 Ocean
Development and International Law 91
G Marchant ‘Biotechnology and the Precautionary Principle: Right Question, Wrong Answer’ (2002) 1
International Journal of Biotechnology 34
Gary E. Marchant, ‘From General Policy to Legal Rule: Aspirations and Limitations of the Precautionary
Principle’ (2003) 14 Environmental Health Perspectives 1799
Gerry Bates, Environmental Law in Australia (LexisNexis Butterworths 2019)
Henk van den Belt, ‘Debating the Precautionary Principle: “Guilty until Proven Innocent” or “Innocent until
Proven Guilty”?’ (2003) 3 Plant Physiology 1122
J Juste Ruiz, Derecho Internacional del Medio Ambiente (McGraw-Hill 1999)
J Lemons, K Schrader-Frechette and C Cranor, ‘The Precautionary Principle: Scientific Uncertainty and Type I
and Type II Errors’ (1997), 2 Foundations of Science 207
J Tickner and C Raffensberger, ‘The Precautionary Principle in Action: A Handbook’, (Science and
Environmental Health Network)
accessed 1 March 2010
J Wiener, ‘Precaution In a Multi-Risk World’, in Paustenbach’ in D Paustenbach (ed) Human and Ecological
Risk Assessment: Theory and Practice (Wiley-Interscience 2002) 1509
Jacqueline Peel, ‘Interpretation and Application of the Precautionary Principle: Australia's Contribution’
(2009) 1 Review of European Community & International Environmental Law 11
Joakim Zander, The Application of the Precautionary Principle in Practice: Comparative Dimensions
(Cambridge University Press 2010)
Laura Schuijers, ‘Responding to Ecological Uncertainty in the Context of Climate Change: Thirty Years of the
Precautionary Principle in Australia’ (2023) 1 Sydney Law Review 249
Lee Godden, Jacqueline Peel, and Jan McDonald, Environmental Law (Oxford University Press 2018)
Leslie-Anne Duvic-Paoli, The Prevention Principle in International Environmental Law (Cambridge University
Press 2018)
M Kaiser, ‘Fish-Farming and the Precautionary Principle: Context and Values in Environmental Science for
Policy’ (1997) 2 Foundations of Science 307
MBA van Asselt, Perspectives on Uncertainty and Risk: The PRIMA Approach to Decision Support (Kluwer
N Haigh, ‘The Introduction of the Precautionary Principle into the UK’ in T O'Riordan and
J Cameron (eds.) Interpreting the Precautionary Principle (Cameron & May 1994) 241
Nicolas de Sadeleer, Environmental Principles: From Political Slogans to Legal Rules (Oxford University
Press 2005)
Nicolas de Sadeleer, Environmental Principles: From Political Slogans to Legal Rules (2nd edn, Oxford
Academic 2020)
P Sands, Principles of International Environmental Law (4th edn, Cambridge University Press 2018)
P Stein, ‘A Cautious Application of the Precautionary Principle’ (2000) 1 Environmental Law Review 1
R Cooney, ‘From Promise to Practicalities: the Precautionary Principle in Biodiversity Conservation and
Natural Resource Management’ in R Cooney and B Dickson (eds) Biodiversity and the Precautionary
Principle: Risk, Uncertainty and Practice in Conservation and Sustainable Use (Earthscan 2005) 3
R Cooney, The Precautionary Principle in Biodiversity Conservation and Natural Resource Management: An
issues paper for policy-makers, researchers and practitioners, (IUCN, Gland, Switzerland and Cambridge 2004)
Sonja Boehmer-Christiansen, ‘The Precautionary Principle in Germany - Enabling Government’ in Timothy
O’Riordan and James Cameron (eds) Interpreting the Precautionary Principle (Routledge 1994) 31
SW Howe, Administrative law (LexisNexis Butterworths 2020)
Warwick Gullett, ‘Environmental Protection and the “Precautionary Principle”: a Response to Scientific
Uncertainty in Environmental Management’ (1997) 1 Environmental and Planning Law Journal 52
Warwick Gullett, ‘The Threshold Test of the Precautionary Principle in Australian Courts and Tribunals:
Lessons for Judicial Review’ in Elizabeth Fisher, Judith Jones, and René von Schomberg (eds)
Implementing the Precautionary Principle: Perspectives and Prospects (Edward Elgar Publishing
Limited 2006) 187
WE Walker et al, ‘Defining Uncertainty: A Conceptual Basis for Uncertainty Management in Model-Based
Decision Support’ 1 (2003) Integrated Assessment 12
หนังสือและบทความภาษาไทย
กฤษณะ ช่างกล่อม, การจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมกับปัญหาระบบความยุติธรรม (วิญญูชน 2556)
จักราวดี มนูญพงศ์, ‘หลักการระวังไว้ก่อน (Precautionary Principle) : สาระสําคัญ ค่าบังคับ
ทางกฎหมาย และคําวินิจฉัยของศาลปกครอง’ ใน คณะทำงานหนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ สำนักงาน
ศาลปกครอง (บรรณาธิการ) หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์
(บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด 2565)
ปนัดดา พงศ์สูรย์มาส, ‘การตีความและการอุดช่องว่างของกฎหมาย’ ใน มานิตย์ จุมปา (บรรณาธิการ) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ
กฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 12, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2555)
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2546)
วรวรรณ เชยชิด, ‘เงื่อนไขของการใช้หลัก Precautionary Principle ภายใต้หลักความตกลงว่าด้วย
การบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช’ (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2559)
สมยศ เชื้อไทย, ความรู้กฎหมายทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 27, บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด 2563)
สามัคคี บุณยวัฒน์, “การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม,” ใน สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, เล่มที่ 37
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์, กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 6, บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด 2566)
กฎหมายและเอกสารทางนโยบายของรัฐบาล
กฎหมายและเอกสารทางนโยบายของต่างประเทศ
Administrative Decisions (Judicial Review) Act 1977 (Cth)
Council of Australian Governments, Inter-Governmental Agreement on the Environment
May 1992 (IGAE)
Environment Effects Act 1978 (Vic)
Environment Protection Act 2017 (Vic)
Environment Protection and Biodiversity Conservation Act 1999 (Cth)
National Strategy for Ecologically Sustainable Development December 1992 (NSESD), Ecologically Sustainable Development Steering Committee
Inter-Governmental Agreement on the Environment 1 May 1992 (IGAE), Council of Australian Governments.
กฎหมายและเอกสารทางนโยบายในประเทศไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556
เอกสารระหว่างประเทศ
UNGA ‘Report of the United Nations Conference on Environment and Development Annex I:
Rio Declaration on Environment and Development,’ (14 June 1992), UN Doc. A/CONF. 151/26/Rev.1 (Rio Declaration)
คำพิพากษาของศาล
คำพิพากษาของศาลต่างประเทศ
Alliance to Save Hinchinbrook v Delegate of the Chief Executive, Environmental Protection Agency [2006] QSC 84
Council of Civil Service Unions v Minister for the Civil Service [1985] 1 AC 374
Friends of Hinchinbrook Society Inc v Minister for Environment (No2) (1997) 69 FCR 28
Gloucester Resources Ltd v Minister for Planning (2019) 234 LGERA 257
Lawyers for Forests Inc v Minister for the Environment, Heritage and the Arts (2009) 165 LGERA 203
Leatch v National Parks & Wildlife Service (1993) 81 LGERA 270
Nicholls v Director-General of National Parks and Wildlife (1994) 84 LGERA 397
Telstra Corporation Ltd v Hornsby Shire Council (2006) 67 NSWLR 256
คำพิพากษาของศาลในประเทศไทย
คำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ คดีหมายเลขแดงที่ ส. 1/2567
คำพิพากษาศาลปกครองเชียงใหม่ คดีหมายเลขแดงที่ ส. 2/2566
คำพิพากษาศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ ส. 15/2558
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 263/2561
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 412/2564
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 450/2557
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม, “ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย,” สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2559, จาก
http://www.onep.go.th/eia/index.php?option=com_content&view=article&id=30&Itemid=127