การดำเนินการตามคำพิพากษาเพิกถอนใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อส. 188/2566)

Main Article Content

วิชญ์พาส พิมพ์อักษร

บทคัดย่อ

     คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อส. 188/2566 เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ โดยในบทวิเคราะห์คดีนี้จะวิเคราะห์เฉพาะข้อหาที่ 1 เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 39 ทวิ ตามแบบ กทม. 6 เลขที่ 18/2558 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 ใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 39 ทวิ ตามแบบ กทม. 6 เลขที่ 69/2558 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2558 ใบรับแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคารตามมาตรา 39 ตรี (แบบ ยผ. 4) เลขที่ 48/2559 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2559 ฉบับแก้ไข และใบรับแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคารตามมาตรา 39 ตรี (แบบ ยผ. 4) เลขที่ 129/2560 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (ผู้อำนวยการสำนักการโยธา) ออกให้แก่ผู้ร้องสอด (บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด) เนื่องจากมีประเด็นปัญหาว่า ที่ดินของผู้ร้องสอดไม่มีที่ดินที่สามารถใช้เป็นทางเข้าออกของรถดับเพลิงได้โดยสะดวก จึงต้องขออนุญาตใช้ที่ดินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นทางเข้าออก แต่ใบอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นทางผ่าน เลขที่ รฟม 012/1135 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2557 ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 (ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย) ก็ไม่มีความมั่นคงเพียงพอที่จะยืนยันได้ว่า ทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะดังกล่าวมีสภาพที่สามารถใช้เป็นทางผ่านที่รถดับเพลิงสามารถเข้าออกได้สะดวกตลอดเวลาตราบเท่าที่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษของผู้ร้องสอดยังดำรงอยู่ ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุดโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ออกให้แก่ผู้ร้องสอดทั้งสี่ฉบับ และให้มีผลย้อนหลังถึงวันที่ออกหนังสือฉบับดังกล่าว โดยมีความเห็นแย้งของตุลาการศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อยสองฝ่าย บทวิเคราะห์คดีนี้ได้วิเคราะห์ประเด็นที่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดเสียงข้างน้อยทั้งสองฝ่ายมีความเห็นแย้งไม่เห็นพ้องด้วยกับมติของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และประเด็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พิมพ์อักษร ว. (2024). การดำเนินการตามคำพิพากษาเพิกถอนใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อส. 188/2566). วารสารวิชาการศาลปกครอง, 24(2), หน้า 272–287. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ/article/view/3966
บท
บทวิเคราะห์คำพิพากษาและความเห็นทางกฎหมาย

References

Brohm, Winfried. Öffentliches Baurecht. 3. Auflage. München : C.H.Beck, 2002.

Epping, Volker und Christian Hillgruber (Hrsg.). BeckOK GG. 55. Ed. 15.05.2023.

Hoppe, Werner, Christian Bönker, und Susan Grotefels. Öffentliches Baurecht. 2. Auflage. München : C.H.Beck, 2002.

ชาญชัย แสวงศักดิ์. คำอธิบายกฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2561.

สุกัญญา สุรวัฒนานันท์. ‘การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจโดยไม่ใช้ระบบอนุญาต’ หนังสือ/บทความทางกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา <http://web.krisdika.go.th/activityType .jsp?item=n5&actType=I&head=4&activityTA.index=29>, 10 กันยายน 2566.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตรา

ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการ

สภาผู้แทนราษฎร, 2562.