หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

Main Article Content

กาญจนา ปัญญานนท์

บทคัดย่อ

     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 41 บัญญัติรับรองสิทธิของบุคคลในการได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐ และมาตรา 59 บัญญัติหน้าที่ของรัฐที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารดังกล่าวและหน้าที่จัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารนี้ได้โดยสะดวก พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 บัญญัติรับรองสิทธิได้รู้ของประชาชนภายใต้หลักการ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” และบัญญัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ เมื่อประชาชนยื่นคำขอให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารแล้ว โดยหลักหน่วยงานของรัฐย่อมมีหน้าที่ต้องจัดหาให้ภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่จะเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีลักษณะตามมาตรา 14 และมาตรา 15 เมื่อคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกันแล้ว อาจมีดุลพินิจออกคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้ โดยคำสั่งมิให้เปิดเผยนี้เป็นคำสั่งทางปกครองซึ่งผู้ขอมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ และโดยที่คณะกรรมการนี้มีสถานะเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเป็นที่สุด เมื่อคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอย่างใดแล้วหน่วยงานของรัฐตามบทนิยามในมาตรา 4 ตลอดจนหน่วยงานอิสระของรัฐซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรานี้เช่นกันย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีนาฬิกาหรู ศาลปกครองสูงสุดได้อธิบายโครงสร้างและหลักการของกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างเป็นระบบ เป็นลำดับขั้นตอน สอดคล้องกับหลักวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นนิยามของข้อมูลข่าวสารของราชการ วิธีการเปิดเผยและข้อยกเว้น ลักษณะของคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว สถานะของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและสถานะของคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่จะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ไม่ต้องรับผิดหากกระทำโดยสุจริต ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการกับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการกับกฎหมายเฉพาะที่คุ้มครองมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ปัญญานนท์ ก. (2024). หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร. วารสารวิชาการศาลปกครอง, 24(2), หน้า 241–271. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/admcJ/article/view/3929
บท
บทวิเคราะห์คำพิพากษาและความเห็นทางกฎหมาย

References

ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์, คู่มือพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540, สำนักงานคณะกรรมการ

ข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพมหานคร : หจก. สยามรัตนฟิล์ม.

สมชัย วัฒนการุณ, คำอธิบายพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540, บริษัท พี. เพรส จำกัด,

กรุงเทพมหานคร, 2561.

ฤทัย หงส์สิริ และมานิตย์ จุมปา, คำอธิบาย : กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ, พิมพ์ครั้งแรก : 2542, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม.

กิตติศักดิ์ ปรกติ, ข้อสังเกตเบื้องต้นว่าด้วยบทบาทภาระหน้าที่ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการและคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร, บทความประกอบการสัมมนาทางวิชาการคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ, ในสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ, ‘เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น’ (การประชุมทางวิชาการในวาระครบรอบ 2 ปี พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540, ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล, 2543).