สัญญาทางปกครองที่มีวัตถุแห่งสัญญาเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สำคัญหรือจำเป็นในการดำเนินบริการสาธารณะให้บรรลุผล

Main Article Content

พัชราภรณ์ ศิริวิมลกุล

บทคัดย่อ

     แม้พัฒนาการเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองในประเทศไทยจะค่อนข้างมีความชัดเจนและเป็นมาตรฐานมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ประเด็นการตีความเกี่ยวกับนิยามของสัญญาทางปกครองยังคงเป็นปัญหาหนึ่งที่ศาลปกครองและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยังคงมีความเห็นไม่เป็นแนวทางเดียวกันในการพิจารณาเพื่อจัดทำคำพิพากษาของศาลปกครองหรือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล แม้จะมีการบัญญัตินิยามของ “สัญญาทางปกครอง” ไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และต่อมาที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดได้มีมติในการประชุมใหญ่ฯ ครั้งที่ 6/2544 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เพื่อขยายขอบเขตของนิยามความหมายของสัญญาทางปกครอง และแยกความแตกต่างระหว่างสัญญาทางปกครองออกจากสัญญาทางแพ่งแล้วก็ตาม แต่จากคำนิยามดังกล่าวเป็นเพียงการวางหลักไว้อย่างกว้าง ๆ ยังไม่มีความชัดเจนในบางประเด็น เช่น การพิจารณาสัญญาทางปกครองที่มีวัตถุแห่งสัญญาเกี่ยวกับการจัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สำคัญหรือจำเป็นต่อการจัดทำบริการสาธารณะให้บรรลุผลว่าข้อพิพาทดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองหรือศาลยุติธรรม และเป็นสัญญาประเภทใด หลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้เป็นหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลได้กำหนดขึ้น ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา การตีความสัญญาในกรณีดังกล่าวเป็นปัญหาและมีความไม่ชัดเจนในบางคดีโดยคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลมีคำวินิจฉัยไม่สอดคล้องกับคำพิพากษาของศาลปกครอง แม้ในปัจจุบันอาจมีความสอดคล้องกันบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ชัดเจนในบางกรณี
     ด้วยเหตุผลของความแตกต่างกันในผลของคำพิพากษาและคำวินิจฉัยดังกล่าว บทความนี้จึงได้มีการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองที่มีวัตถุแห่งสัญญาเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สำคัญหรือจำเป็นในการดำเนินบริการสาธารณะให้บรรลุผล การวิเคราะห์เปรียบเทียบคำพิพากษาของศาลปกครองและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลโดยละเอียด รวมถึงนำตัวอย่างคำพิพากษาของศาลประเทศสเปน ที่มีแนวคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องของสัญญาทางปกครองนำมาใช้ประกอบการพิจารณา และการกำหนดหลักเกณฑ์ของการจำแนกสัญญาที่ใช้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับ “สัญญาที่มีวัตถุแห่งสัญญาเกี่ยวกับการจัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สำคัญหรือจำเป็นต่อการจัดทำบริการสาธารณะให้บรรลุผล” ทั้งหลักเกณฑ์ด้านองค์กร หลักเกณฑ์ด้านเนื้อหาหรือวัตถุแห่งสัญญา รวมทั้งหลักเกณฑ์ที่จะวินิจฉัยสัญญาทางปกครองที่ครอบคลุมเนื้อหาของสัญญาทางปกครองเพื่อนำไปสู่การกำหนดประเภทของสัญญาและเขตอำนาจของคดีประเภทสัญญา และกำหนดแนวทางการพิจารณาคดีประเภทสัญญาทางปกครองให้มีแนวคำพิพากษาที่ชัดเจนและสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจาณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และเพิ่มหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสัญญาทางปกครองที่มีวัตถุแห่งสัญญาเกี่ยวกับการจัดให้มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สำคัญหรือจำเป็นต่อการจัดทำบริการสาธารณะให้บรรลุผล ไว้เป็นคำนิยามหนึ่งที่เพิ่มเติมจากมติที่ประชุมใหญ่ฯ ที่เคยมีอยู่ก่อนแล้ว และควรยกฐานะของมติดังกล่าวและที่มีอยู่ก่อนแล้วเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองให้มีสถานะทางกฎหมาย เพื่อให้มติดังกล่าวมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น มีความชัดเจนเพื่อให้การพิจารณาคดีของศาลปกครองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนสูงสุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทวิเคราะห์คำพิพากษาและความเห็นทางกฎหมาย

References

เดชา สินธุเพ็ชร, “เกณฑ์การวินิจฉัยความเป็นสัญญาทางปกครอง : ศึกษาเฉพาะกรณีสัญญาเข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะและสัญญาให้เอกสิทธิ์แก่ฝ่ายปกครอง” (2564) 9, 11 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ 121, น. 130-133.

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 71/2554

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 726/2547 (ที่ประชุมใหญ่)

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 350/2560

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.586/2560

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.438/2562

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 99/2563

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 977/2565

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 146/2548

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 423/2546

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 633/2560

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 283/2561

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 403/2566

คำพิพากษาศาลปกครองกลางคดีหมายเลขดำที่ 60/2565 หมายเลขแดงที่ 81/2565 และคดีนี้ได้อุทธรณ์ไปยังศาลปกครองสูงสุด โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด (ข้อมูล ณ วันที่จัดทำบทความนี้ คือ วันที่ 30 มิถุนายน 2566)

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 9/2555

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 27/2551

คําวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 82/2559

คําวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 145/2561

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 122/2557

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 30/2549

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 308/2547

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 853/2547

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 306/2549

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 106/2544

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 604/2564

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 157/2550

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 443/2545

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 497/2545

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 493/2545

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 255/2546

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 975/2565

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 656/2550

คำสั่งที่ ร.84/2557

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 39/2558

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 37/2550

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 1/2548

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 12/2552

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 31/2548

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 39/2558

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 52/2560

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 11/2562 และที่ 28/2563

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 77/2563

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 28/2563

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 52/2560

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 692/2546

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 301/2555

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 537/2556

คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1221/2560

คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.307/2561

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.298/2560

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 252/2544

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 73/2547

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 94/2549

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 641/2551

คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 9/2551

พัชราภรณ์ ศิริวิมลกุล, “สัญญาทางปกครองของประเทศสเปน” แปลจากบทความของ Óscar Moreno Gil, Contratos Administrativos : Legislación y Jurisprudencia, Sexta Edición, Thomson-Civitas, 2004.

สุรัตถิ์ ไกรสกุล และจุฑาภรณ์ คงรักษ์กวิน, “การแบ่งแยกสัญญาทางปกครองออกจากสัญญาทางแพ่ง : ศึกษากรณีการตีความสัญญาที่จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค”, วารสารวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559) 2559, น. 26-27.

มาฤทธิ์ กาญจนารักษ์, “หลักการของสัญญาทางปกครองกับการวินิจฉัยที่ไม่ตรงกัน : ผลต่อความเสมอภาคของการนำคดีขึ้นสู่ศาล”, วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ปีที่ 2 ฉบับที่ 5 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564) 2564, น. 221.