การเยียวยาข้าราชการพลเรือนสามัญในกระบวนการอุทธรณ์และร้องทุกข์ : วิเคราะห์ระเบียบ ก.พ.ค. ว่าด้วยการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้อุทธรณ์และผู้ร้องทุกข์ หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม พ.ศ. 2565

Main Article Content

นิติกร ชัยวิเศษ

บทคัดย่อ

     การเยียวยาข้าราชการพลเรือนสามัญในกระบวนการอุทธรณ์และร้องทุกข์คือการเยียวยาข้าราชการที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชาและเป็นการเยียวยาตั้งแต่ในชั้นของฝ่ายปกครอง ซึ่งในปัจจุบันมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้ให้อำนาจคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ออกระเบียบเพื่อเยียวยาผู้อุทธรณ์และผู้ร้องทุกข์ ซึ่งได้มีการออกระเบียบ ก.พ.ค. ว่าด้วยการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้อุทธรณ์และผู้ร้องทุกข์หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม พ.ศ. 2565 โดยเนื้อหาของระเบียบฉบับนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ บททั่วไป การเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้อุทธรณ์ และการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ร้องทุกข์ โดยเนื้อหาของความเสียหายที่อาจเยียวยาได้แบ่งออกเป็นความเสียหายที่เป็นตัวเงินและความเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน


     อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ศึกษาและวิเคราะห์ระเบียบฉบับนี้โดยละเอียดพบว่า ระเบียบฉบับนี้ แม้ว่าจะกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาเยียวยาให้กับข้าราชการโดยไม่ต้องรอให้มีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาล แต่มาตรการในการเยียวยานั้นยังคงกำหนดให้ใช้มาตรการที่มีมาแต่เดิมก่อนที่จะมีการออกระเบียบฉบับนี้ โดยการคืนเงินเดือน ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ที่เป็นตัวเงินได้มีการกำหนดให้นำระเบียบของกรมบัญชีกลาง ระเบียบกระทรวงการคลัง กฎ ก.พ. หรือหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด มาใช้ จึงมีข้อสังเกตว่า เมื่อระเบียบ ก.พ.ค. ว่าด้วยการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้อุทธรณ์และผู้ร้องทุกข์หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม พ.ศ. 2565 เป็นระเบียบที่ใช้เยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้อุทธรณ์หรือผู้ร้องทุกข์ที่ได้รับมอบอำนาจมาจากกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมจึงควรกำหนดหลักเกณฑ์ เนื้อหา และมาตรการในการเยียวยาผู้อุทธรณ์หรือผู้ร้องทุกข์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่ควรนำกฎเกณฑ์ที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้ เพราะผลสุดท้ายจะกลายเป็นว่า ผู้ที่ออกกฎหรือระเบียบในเรื่องนั้น ๆ จะเป็นผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดมาตรการในการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้อุทธรณ์หรือผู้ร้องทุกข์ตัวจริง มิใช่คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ซึ่งผู้เขียนมีข้อเสนอว่า หลักการสำคัญของการเยียวยาผู้อุทธรณ์และผู้ร้องทุกข์จะต้องเป็นการเยียวยาอย่างเต็มที่ โดยผู้อุทธรณ์ที่ต้องออกจากราชการไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายควรได้รับเงินเดือนและสิทธิประโยชน์คืนเต็มจำนวน แต่ก็ควรอยู่ภายใต้ข้อยกเว้นที่จะต้องหักส่วนกับรายได้ที่ข้าราชการได้มาในระหว่างที่ออกจากราชการ และระเบียบ ก.พ.ค. ควรมีบทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรการที่เป็นมาตรการชั่วคราวเพื่อบรรเทาผลร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการยกเลิกผลการคัดเลือกและคำสั่งแต่งตั้ง ซึ่งเป็นผลร้ายต่อบุคคลที่สามที่สุจริต เช่น ในกรณีที่ผลการคัดเลือกและแต่งตั้งข้าราชการไม่ชอบด้วยกฎหมายในส่วนของกระบวนการขั้นตอน คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมควรมีทางเลือกที่จะสั่งให้ส่วนราชการไปทบทวนผลการคัดเลือกข้าราชการนั้นอีกครั้งภายใต้กระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยยังไม่ต้องยกเลิกผลการคัดเลือกและคำสั่งแต่งตั้ง เพื่อรอการทบทวนผลการคัดเลือกนั้นว่าจะยังคงเป็นเช่นเดิมหรือไม่ ซึ่งท้ายที่สุดก็อาจจะไม่ต้องมีการยกเลิกผลการคัดเลือกและคำสั่งแต่งตั้งนั้นเลยก็ได้ อันจะช่วยลดผลกระทบที่เกิดต่อบุคคลที่สามที่สุจริตและได้รับการแต่งตั้งไปแล้วได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ

References

ถวัลย์ ศิลปกิจ, การบริหารบุคคล, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2503).

นิติกร ชัยวิเศษ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายวินัยข้าราชการ, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2564).

นิติกร ชัยวิเศษ, หลักกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนเบื้องต้น, (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2566).

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย, หลักพื้นฐานทางกฎหมายปกครอง : ข้อความคิดว่าด้วยรัฐ ฝ่ายปกครอง และอำนาจทางปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2565).

ภูมินทร์ บุตรอินทร์, การให้เหตุผลทางนิติศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, กฎหมายปกครอง ภาคทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพฯ : นิติราษฎร์, 2554).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อ่านกฎหมาย, 2564).

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, คำอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้, พิมพ์ครั้งที่ 9, (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2563).

Battis, Ulrich, Bundesbeamtengesetz, 5. Auflage, (M?nchen : C.H. Beck, 2017).

Hufen, Friedhelm, Verwaltungsprozessrecht, 8. Auflage, (M?nchen : C.H. Beck, 2011).

Kopp/Schenke, Verwaltungsgerichtsordnung, 18. Auflage, (M?nchen : C.H. Beck, 2012).

Maurer, Hartmut, Allgemeines Verwaltungsrecht, 18. Auflage, (M?nchen : C.H. Beck, 2011).

R?hl/R?hl, Allgemeine Rechtslehre, 3. Auflage, (K?hl : Carl Heymanns Verlag, 2008).

รุ่งนภา ธรรมมา, การเยียวยาความเสียหายแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ถูกลงโทษทางวินัยโดยคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, (วิทยานิพนธ์ ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2555).

สันติ กองภูมิน, ความสัมพันธ์ของคำสั่งทางปกครองชั้นต้นและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในคดีฟ้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง, (วิทยานิพนธ์ ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558).

ทศพร แสนสวัสดิ์, การอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครอง : ข้อความคิด ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะบางประการว่าด้วยการพัฒนา วิธีพิจารณาคดีปกครองของประเทศไทย, วารสารวิชาการศาลปกครอง ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม), 2565.

นิติกร ชัยวิเศษ, ความไม่เหมาะสมในการนำพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาใช้กับการเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการ, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 48 ฉบับที่ 2, 2562.

ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์, การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง, วารสารกฎหมายปกครอง เล่ม 32 ตอน 1, 2561.

สำนักพิทักษ์ระบบคุณธรรม สำนักงาน ก.พ., การเขียนอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยและร้องทุกข์, วารสารข้าราชการ ปีที่ 50 ฉบับที่ 3, 2548.

สำนักพิทักษ์ระบบคุณธรรม สำนักงาน ก.พ., การคัดเลือกข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญโดยไม่เป็นธรรม, รวมบทความ ก.พ.ค. ขอบอก เล่ม 3, (กรุงเทพฯ : สำนักงาน ก.พ.), 2557.

สำนักพิทักษ์ระบบคุณธรรม สำนักงาน ก.พ., ผู้ไม่ผ่านการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมีสิทธิร้องทุกข์หรือไม่, รวมบทความ ก.พ.ค. ขอบอก เล่ม 1, (กรุงเทพฯ : สำนักงาน ก.พ.), 2556.

สำนักพิทักษ์ระบบคุณธรรม สำนักงาน ก.พ., ผู้ร้องทุกข์ต้องเป็นข้าราชการพลเรือนขณะยื่นคำร้องทุกข์หรือไม่, รวมบทความ ก.พ.ค. ขอบอก เล่ม 4, (กรุงเทพฯ : สำนักงาน ก.พ.).

สำนักพิทักษ์ระบบคุณธรรม สำนักงาน ก.พ., มีอำนาจย้ายแต่ไม่ควรย้าย, รวมบทความ ก.พ.ค. ขอบอก เล่ม 3, (กรุงเทพฯ : สำนักงาน ก.พ.), 2557.

สำนักพิทักษ์ระบบคุณธรรม สำนักงาน ก.พ., ยกเลิกคำสั่งแล้วดำเนินการใหม่, รวมบทความ ก.พ.ค. ขอบอก เล่ม 3, (กรุงเทพฯ : สำนักงาน ก.พ.).

สำนักพิทักษ์ระบบคุณธรรม สำนักงาน ก.พ., เรื่องร้องทุกข์ที่ไม่อยู่ในอำนาจของ ก.พ.ค., รวมบทความ ก.พ.ค. ขอบอก เล่ม 1, (กรุงเทพฯ : สำนักงาน ก.พ.), 2556.

Michael Dawin, Aufhebung der Ernennung eines Beamten bei Vereitelung oder Missachtung eines gerichtlichen Ernennungsverbots, in: Breuer, Marten (Hrsg.), Festschrift f?r Eckart Klein zum 70. Geburtstag, (Berlin : Duncker & Humblot, 2013).

Reimer, Franz, Apologie der Ausnahme - Rechtstheoretische Perspektiven, Heidelberger Beitr?ge zum Finanz- und Steuerrecht, Band 12, 2019.