ปัญหาทางกฎหมายในการเรียกเงินคืนโดยหน่วยงานของรัฐ

Main Article Content

โชคชัย เนตรงามสว่าง
เพียรศักดิ์ สมบัติทอง

บทคัดย่อ

          ปัญหาทางกฎหมายในการเรียกเงินคืนโดยหน่วยงานของรัฐเป็นปัญหาเกี่ยวกับการตีความกฎหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งเกิดขึ้นจากกรณีที่วินิจฉัยว่าการเรียกเงินคืนโดยหน่วยงานของรัฐไม่ได้เกิดจากคำสั่งทางปกครอง โดยเกิดขึ้นในบริบทของศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง การตีความโดยศาลยุติธรรมเป็นการนำหลักการติดตามเอาทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 มาใช้ในการเรียกเงินคืน ในขณะที่ศาลปกครองและคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนำหลักลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาใช้ ซึ่งการตีความโดยใช้หลักกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์คืนมาใช้กับการเรียกเงินคืนเป็นการตีความที่มีข้อถกเถียงทางวิชาการว่าไม่เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง  อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีดังกล่าวยังคงถือปฏิบัติเช่นนี้ และเป็นปัญหาในทางปฏิบัติในการดำเนินคดีระหว่างหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ ซึ่งต้องตั้งรูปเรื่องในการฟ้องคดีแบบติดตามเอาทรัพย์คืน โดยผู้เขียนเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเรียกเงินคืนของหน่วยงานของรัฐ โดยการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ที่เป็นเงินคืนนี้ให้ชัดเจนว่าสามารถทำได้แค่ไหน เพียงใด และเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติในการเรียกเงินคืนโดยหน่วยงานของรัฐให้ถูกต้อง  นอกจากนั้น ปัญหาเรื่องอายุความอาจมีการแก้ไขให้ยาวขึ้นเป็น 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี และต้องพิจารณาถึงความสุจริตของผู้ได้รับเงินด้วย ส่วนกรณีดอกเบี้ยเรื่องลาภมิควรได้นั้น ควรกำหนดให้มีการเรียกดอกเบี้ยจากเงินดังกล่าวได้ด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้ศาลยุติธรรมต้องใช้หลักการติดตามเอาทรัพย์คืนมาใช้กับทรัพย์ประเภทเงินตรา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ