กฎหมายรัฐธรรมนูญสิ่งแวดล้อม : แนวคิดและหลักการพื้นฐาน

Main Article Content

อภิญญา แก้วกำเหนิด

บทคัดย่อ

          แนวคิดในการทำให้หลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อมซึ่งกำเนิดและพัฒนาขึ้นจากประชาคมกฎหมายในระดับกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลใช้บังคับทั่วโลกและกฎหมายระดับภูมิภาค (ยุโรป) ได้รับการรับรองคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ หรือเรียกว่ามีสถานะเป็น “กฎหมายรัฐธรรมนูญสิ่งแวดล้อม” เป็นส่วนหนึ่งของกระแสแนวความคิดว่าด้วยรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionnalisme) ที่ให้ความสำคัญและความมีคุณค่าทางกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร โดยแนวคิดว่าด้วยรัฐธรรมนูญนิยมเป็นทฤษฎีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับหลักนิติรัฐ หลักประชาธิปไตย และทฤษฎีรัฐธรรมนูญประการอื่น บทความนี้จะได้ศึกษาแนวคิดและความพยายามในการทำให้หลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่กำเนิดในลักษณะเป็นหลักการสากลระหว่างประเทศได้รับการบัญญัติรับรองคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศไทย รวมทั้งศึกษารายละเอียดของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากส่วนที่ 1 แนวคิดในการทำให้หลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อมมีค่าบังคับในระดับรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ ต่อด้วยมิติทางการเมืองอันเป็นนิตินโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ในส่วนที่ 2 สาระสำคัญของการปฏิรูปประเทศด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อนำมาสู่มิติทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่ 3 หลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งประกอบด้วยหลักการพื้นฐานว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนและหลักบูรณาการทางสิ่งแวดล้อม หลักการป้องกันล่วงหน้าและหลักการระวังไว้ก่อน หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย และหลักการว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมต้องไม่ถดถอยลง พร้อมนำเสนอข้อสังเกตและตัวอย่างคำพิพากษาของศาลที่ได้วินิจฉัยข้อพิพาทโดยอาศัยหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญสิ่งแวดล้อมโดยสังเขป ซึ่งจากการศึกษาทำให้ทราบถึงพัฒนาการของกฎหมายสิ่งแวดล้อมในมิติของกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศไทย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ