การทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองในระบบกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับระบบกฎหมายเยอรมัน : ศึกษากรณีคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
Main Article Content
บทคัดย่อ
หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ศาลปกครองจะนำมาใช้เพื่อคุ้มครองผู้ใช้สิทธิทางศาลจากความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างการพิจารณาคดีจนกระทั่งศาลมีคำพิพากษา คือ มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยถือเป็นเครื่องมือที่นอกจากคู่ความจะได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนในระหว่างการพิจารณาของศาลที่ต้องใช้เวลายาวนานแล้ว ยังส่งผลต่อคู่ความที่จะได้รับการเยียวยาจากผลของคำพิพากษาได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากยังคงเหลือประโยชน์ที่มุ่งคุ้มครองอยู่ รวมตลอดจนส่งผลต่อหน่วยงานที่มีอำนาจบังคับคดีที่จะสามารถดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้อย่างครบถ้วนและรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยข้อดีของมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อนำมาปรับใช้กับคดีปกครองเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมแล้ว ย่อมส่งผลดีไม่เพียงแต่ต่อคู่ความในคดีเท่านั้น ยังส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยากต่อการเยียวยาแก้ไขในภายหลัง อย่างไรก็ดี มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษานี้ อาจส่งผลอย่างร้ายแรงแก่ผู้รับคำสั่งหรืออาจมีผลต่อผู้คนจำนวนมาก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจในภาพรวมได้ เนื่องจากผลของการกำหนดมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวเท่ากับเป็นการเลื่อนการบังคับการหรือทำลายผลของการกระทำทางปกครองนั้นไว้เป็นการชั่วคราวก่อน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจัดทำบริการสาธารณะ หรือการดำเนินกิจการของรัฐ ตลอดจนอาจส่งผลต่อความรับผิดชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ ดังนั้น การพิจารณาเพื่อกำหนดมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวจึงต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ เหมาะสม และทันท่วงที โดยการศึกษานี้จึงมีความมุ่งหมายที่จะพิจารณาหลักเกณฑ์การกำหนดมาตรการหรือวิธีการชั่วคราว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองทั้งในระบบกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับระบบกฎหมายเยอรมัน เพื่อให้ทราบข้อเหมือนหรือข้อแตกต่างที่เกิดขึ้นจากกฎหมายทั้งสองระบบ รวมทั้งสาระสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีพิจารณา โดยมีตัวอย่างคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ได้นำการทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองมาปรับใช้ เพื่อคุ้มครองผู้ใช้สิทธิทางศาลจากความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างการพิจารณาคดีจนกระทั่งศาลปกครองมีคำพิพากษาด้วย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.