การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีต่อ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ในรายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 33 คน โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t–test Dependent Samples ผลวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.59/83.86 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนก จันทร์ทอง. (2560). การสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยบริการวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(2), 65-80.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชวลิต ชูกำแพง. (2561). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร : แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงนภา ทาปลัด. (2565). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมือง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ตฤณวัฒน์ พลเยี่ยม. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดแก้ปัญหาและจตคติต่อวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบซิปปาและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พระทรงพล ทิพย์คำ, เชษฐภูมิ วรรณไพศาล และจารุณี ทิพยมณฑล. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(7), 3285-3298.
ภาณุพล โสมูล. (2565). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร (มัธยมศึกษา). วารสารวิชาการ The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences, 2(1), 18-29.
เมธาวลัย จันทะหงส์, ประภัสสร ปรีเอี่ยม และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจวิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(2), 327-340.
โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์. (2564). รายงานการประชุมแผนงานและประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์. ขอนแก่น : โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์.
วิทูรย์ พันธ์วงศ์, นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และสายรุ้ง บุบผาพันธ์. (2565). การจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามหลักอริยสัจ 4 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(4), 95-106.
สุวิทย์ มูลคํา. (2551). กลยุทธ์การสอนคิดแก้ปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Surur, M., Degeng, I., Setyosari, P., & Kuswandi, D. (2020). The Effect of Problem- Based Learning Strategies and Cognitive Styles on Junior High School Students' Problem-Solving Abilities. International Journal of Instruction, 13(4), 35-48.
Weir, J. J. (1974). Problem Solving Is Everybody’s Problem. Science. The Science Teacher, 41(4), 16–18.