การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการทำงานของครูใน สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 2

Main Article Content

ฐิติพัฒน์ วีณิน
ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารในสถานศึกษาและระดับขวัญกำลังใจในการทำงาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับขวัญกำลังใจในการทำงานและ 3) ศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 2 จำนวน 310 คน การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจากนั้นสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วน ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามเท่ากับ .945 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสันและการถดถอยพหุคูณแบบนำตัวแปรเข้าหมด ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารและระดับขวัญกำลังใจในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = .779 ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในระดับสูง 3) การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 61.00

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565.

ชาคริสต์ เลิศเตชะจิรานนท์. (2565). การใช้อำนาจทางการบริหารที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร.

นิลุบล ภมร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.,มหาวิทยาลัยรังสิต. ปทุมธานี.

พเยาว์ หมอเล็ก. (2560). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ยะลา.

ริฟอรรถ ยะโกะ. (2564). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในอำเภอจะแนะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ยะลา.

วิรันทร์ดา เสือจอย. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

สมบูรณ์ นาควิชัย. (2560). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 2(2), 16-29. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/246193

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสามพ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐.

อธิคุณ สินธนาปัญญา. (2557). การบริหารความสุขในสถานศึกษา Happiness Management in School. สุทธิปริทัศน์, 28(88).

อภิสิทธิ์ พึ่งภพ, วิไลวรรณ พรมสีใหม่ และชวนคิด มะเสนะ. (2564). การเสริมสร้างพลังในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5. Sisaket Rajabhat University Journal, 15.

อุบลรัตน์ ชุณหพันธ์. (2558). การศึกษาขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงานของครูการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี. สกลนคร.

Kinlaw, D. C. (1995). The practice of empowerment : making the most of human competence / by D.C. Kinlaw. Gower.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, R. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective.