การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ APPEA เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ APPEA เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ APPEA ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนบ้านกูวิง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ APPEA มีค่าคะแนนความเหมาะสมอยู่ระหว่าง 4.33 - 5.00 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ แบบอัตนัย มีค่าความยากตั้งแต่ 0.40 - 0.46 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 - 0.23 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบแผนการทดลองหนึ่งกลุ่มวัดสองครั้ง (The One Group Pretest-Posttest Design) ใช้สถิติ t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ APPEA มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความคิด (Activate) ขั้นที่ 2 นําเสนอความรู้ (Present) ขั้นที่ 3 ฝึกการเขียน (Practice) ขั้นที่ 4 ขั้นปรับขยายความรู้ (Expand) และขั้นที่ 5 ประยุกต์ใช้ความรู้ (Application) 2) ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ APPEA เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า คะแนนความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ.
กชกร เสมาทอง. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยและความสามารถในการ เขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน เชิงสร้างสรรค์ร่วมกับเทคนิค KWDL. วารสารวิชาการวิทยาลัยเเสงธรรม. 9(2), 80-96.
เกศินี จุฑาวิจิตร. (2552). การเขียนสร้างสรรค์ ทางสื่อสิ่งพิมพ์: Idea ดี ๆ ไม่มีวันหมด. มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม.
ณัฐณิชา จิตตะคาม. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์ เพื่อพัฒนา ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. www.repository.rmutt.ac.th/
ถวัลย์ มาศจรัล. (2552). การเขียนเชิงสร้างสรรค์เพื่อการศึกษาและอาชีพ. ธารอักษร
ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 25). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิชกานต์ สฤษดิ์ไพศาล. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามระดับสูงเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา]. www.so02.tci/thaijo.org/index.php/banditvijai/Article/view/249716/170869
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุริยาสาสน์
ปาริชาติ รัตนบรรณสกุล. (2548). การเขียนสร้างสรรค์เชิงวารสารศาสตร์. ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา.
ฟองจันทร์ สุขยิ่งและคณะ. (2550). ศิลปะการเขียนอย่างมืออาชีพ. อักษรเจริญทัศน์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542. ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์.
ศิวกานต์ ปทุมสูติ. (2548). การเขียนสร้างสรรค์ไม่ยากอะไรเลย. นวสาส์นการพิมพ์.
สมพร ตอยยีบี.(2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนเซนต์เทเรซา หนองจอก. กรุงเทพฯ [ปริญญานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ] https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/758/1/Somporn_To.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2550). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของ เด็กในการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุวิไล เปรมศรีรัตน์, สาเหะอับดุลเลาะ อัลยุฟรี, แวมายิ ปารามัล, มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์, ยูเนียนสา สมีต้า สาเมา, รุสดี มาซอ และ สรัญญา กฤษณานุวัตร. (2552). การพัฒนานโยบายการเรียนการสอนภาษาไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. (2534). การเขียนสำหรับสื่อการสื่อสาร. ศูนย์การพิมพ์ดวงกมล.
อัญชลี ด้วงต้อย และ อัมรินทร์ อินทร์อยู่. (30 – 31, พฤษภาคม, 2557). การสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม(ประธาน). การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมครั้งที่ 6 [Symposium], มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อิชยา กองไชย. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน Context Based Learning. วารสาร การบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8(6), 443- 449.
Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. Hill Book.
Joyce, B. & Weil, M. (2009). Models of teaching (8th ed.). Pearson Education, Inc.
Khasanah, N. (2015). IMPROVING STUDENTS’ WRITING ABILITY OF DESCRIPTIVE TEXT THROUGH WRITE PAIR SHARE TECHNIQUE. Submitted to the English Education Department as a Partial Fulfillment of the Requirements [Bachelor thesis]. https://repository.ump.ac.id/5266/
Krulik, S. & Rudnick, J. A. (1993). Reasoning and Problem –Solving: A Handbook for Elementary School Teachers. Allyn and Bacon.
Piaget, Jean. (1969). The Psychology of the Child. Evanston and London.
Torrance, E.P. (1962). Guiding of Ceative Taient. Prentice Hall.