แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น 2) เพื่อศึกษาแนวทาง 3) เพื่อประเมินแนวทาง โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 339 คน คือ ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เป็นการสุ่มแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถาม สถิติที่วิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มาหาค่า PNI ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทาง ใช้วิธีการสัมภาษณ์ เลือกผู้ทรงคุณวุฒิแบบเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ระยะที่ 3 นำแนวทางระยะที่ 2 มาประเมิน โดยเลือกผู้ทรงคุณวุฒิแบบเจาะจง พบว่า ระยะที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของสภาพปัจจุบันโดยภาพรวม อยู่ระดับน้อย ( = 2.20) ค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวม อยู่ระดับมาก (= 4.50) ค่าความต้องการจำเป็น โดยรวม 0.418 - 0.610 ซึ่ง 3 ลำดับแรก คือ 1) มีส่วนร่วมดำเนินงานในงานวิชาการ 2) มีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจในงานวิชาการ 3) มีส่วนร่วมตรวจสอบและประเมินในงานวิชาการ ระยะที่ 2 พบว่าได้ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ 1) มีส่วนร่วมวางแผนและตัดสินใจในงานวิชาการ มี 3 ด้าน 13 แนวทาง 2) มีส่วนร่วมดำเนินงานในงานวิชาการ มี 3 ด้าน 18 แนวทาง 3) มีส่วนร่วมตรวจสอบและประเมินในงานวิชาการ มี 3 ด้าน 18 แนวทาง ทั้งหมด 49 แนวทาง ระยะที่ 3 พบว่า ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกรัตน์ ทำจะดี. (2560). การศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, มหาวิทยาลัยสยาม.
คัมภีร์ สุดแท้. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 4(2) : 127-136
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่ 5 สุวีริยาสาส์น.
พรรณี มนพันธ์ปริพัตร. (2560). ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ใน สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม.,มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2551). การบริหารโรงเรียนแบบกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.
โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมทีส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพ : สำนักนายกรัฐมนตรี
สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: ธรรมดาเพลส.
สิทธิชัย อุตทาสา และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2563). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(3), 30-42.
อัญชิสา แก้ววิเศษ. (2561, กรกฎาคม-กันยายน). การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 272-282
Cohen, J. M and Uphoff, T. N.(1977). Rural development participation: concepts and measures for project design, implementation, and evaluation. New York: Cornell University
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610
Guskey.T.R. (2000). Evaluating professional development. CA : Corwin Press.
Likert, R. A. (1993). Technuque for the Measurement of Attitudes. ARCH Psychological.