การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

กัญนารา บุราญรัตน์
อรัญ ซุยกระเดื่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80   2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ          สืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ()        ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบ t-test แบบ Dependentผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค       ผังกราฟิก เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.08/83.69 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05             3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ต่อการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุฑารัตน์ พรมสาลี. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เรื่องกฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(4), 272-281.

เจนจิรา ถาอิ่นแก้ว. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ เรื่องทวีปเอเชียโดยใช้รูปแบบ กลุ่มสืบสวน สอบสวน ร่วมกับผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ติณณ์ณภัทร เพชรศิริวรรณ์. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปยุโรปรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธนภัค แสงมุณี. (2561). การจัดการเรียนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567, จาก https://www.thaischool.in.th/_files_school/84101600/workteacher/84101600_1_20210404-205338.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

พิชาติ พวงแก้ว. (2563). ศาสตร์การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม. (2565). การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565. มหาสารคาม : โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม.

วรารัตน์ สีปัดถา. (2563). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิภาพรรณ พินลา และวิภาดา พินลา. (2564). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สํานักงานศึกษาธิการจังหวัดกําแพงเพชร. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2566, จาก http://www.thaischool.in.th/_files_school/62100490/data/62100490_1_20210807-131704.pdf

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (2558). แนวทางจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, จาก https://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/files/2016/09/20160908101755_51855.pdf