STEM to STEAM: นวัตกรรมการสอนทางศิลปศึกษา

Main Article Content

สุปราณี ชมจุมจัง

บทคัดย่อ

STEM Education เป็นประเด็นที่หลายประเทศให้ความสนใจ โดยมีการกำหนดเป้าหมายด้านการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะในสาขา สะเต็ม ยกตัวอย่างเช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี ตัวอย่างของประเทศที่มีความเคลื่อนไหวด้านสะเต็มและสะเต็มศึกษาอย่างชัดเจนคือประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกำหนดให้ สะเต็มเป็นแกนของมาตรฐานการศึกษาที่ประกาศในระดับประเทศ ด้วยการประกาศใช้มาตรฐาน การศึกษา Next Generation Science Standards (NGSS) ทั้งนี้นโยบายของรัฐบาลกลาง สหรัฐอเมริกาต้องการให้แต่ละมลรัฐนำไปปฏิบัติมีการกำาหนดกรอบการดำเนินงานครอบคลุมทั้งระบบ ตั้งแต่การกำหนดนิยามที่ครอบคลุมคำว่า สะเต็ม การกำาหนดอาชีพในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ สะเต็ม การทำวิจัยและพัฒนาจนถึงการป้อนกำลังคนด้านสะเต็มเข้าสู่ภาควิชาชีพ STEAM (STEAM Education) เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และคณิตศาสตร์ เข้าด้วยกัน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้และสามารถ นำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาจนเกิดทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการคิด แนวการคิด ในการดำเนินชีวิต โดยมีปัจจัยสำคัญ ในการจัดการเรียนรู้ 3 ส่วน คือ การนำเสนอสถานการณ์ การออกแบบอย่างสร้างสรรค์ และการสร้างความจับใจ ผ่านการเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะ สมรรถนะ ตลอดจนการบูรณาการการเรียนรู้สู่การใช้ชีวิตในประจำวัน ต่อยอดองค์ความรู้ด้วยนวัตกรรมเพื่อการ พัฒนา และตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ธีรวัฒน์ ประกอบผล. (2564). ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการเรียนรู้แนว STEAM Education. สัมภาษณ์. 2 พฤษภาคม 2564.

นันทวัน จันทร์กลิ่น. (2557). ปญหาและแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพในการพัฒนาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

วิสูตร โพธิ์เงิน. (2561). STEAM ศิลปะเพื่อสะเต็มศึกษา. การพัฒนาการรับรู้ความสามารถและแรงบันดาลใจให้เด็ก, 1(45), 320-334.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.

สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในยุคประเทศไทย 4.0 ตามแนวคิด STEM, STEAM, และ STREAM. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 13(1), 19-30.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2561). STEM Education หนึ่งในเครื่องมือปฏิรูปการเรียนรู้ของไทย, The Knowledge, 2(9), 3-5.

Fioriello. (2010). Understanding the basics of STEM education. Retrieved September 15, 2018. from http://drpfconsults.com/understanding-the-basics-ofstem-education.

Taylor, P.C. (2018). Enriching STEM with the arts to better prepare 21st century citizens.

STEM to STEAM. (2016). What is STEAM?. Retrieved from http://stemtosteam.org/

Yakman, G. (2008). STEAM education: an overview of creating a model of integrative education. Retrieved September 22, 2021, from https://www.academia.edu/8113795/STEAM_Education_an_overview_of_creating_a_model_of_integrative_education.

Yakman, G. (2011). STEM education: an overview of creative of integrative education. Retrieved Nov 17, 2021. From http://steamedu.com/