การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นุษรา โพธิ์พัฒนชัย
จุลดิศ คัญทัพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ประชากร ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตหนองแขม จำนวน 451 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการใช้ตารางสำเร็จรูป (Krejcie & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่าง 210 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีลักษณะการตอบสนองแบบคู่ คือ สอบถามสภาพปัจจุบันการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และสอบถามสภาพพึงประสงค์การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อ มั่นเท่ากับ 0.90 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า
(1) สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อนมาจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำาเป็นภาพรวม พบว่า ความต้องการจำาเป็นในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ลำดับที่ 1 ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ลำดับที่ 2 ด้านการ เรียนรู้เป็นทีม ลำดับที่ 3 ด้านแบบแผนทางความคิด ลำดับที่ 4 ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และลำดับที่ 5 ด้านความรอบรู้แห่งตน (2) แนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 5 ด้าน 15 แนวทางการพัฒนาได้ดังนี้ 1. ด้านความรอบรู้แห่งตน แนวทางการพัฒนา คือ 1) แต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน และพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 2) กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานและแนวทางการพัฒนาสถาน ศึกษาที่ชัดเจน 3) จัดการสัมมนา อบรม หรือ การจัดทำโครงการหรือโครงงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากร 2. ด้านแบบแผนทางความคิด แนวทางการพัฒนา คือ 1) จัดการประชมบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางในการพัฒนาสถานศึกษา 2) จัดอบรมและให้ความรู้ด้านเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาบุคลากรให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน 3) แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก 3. ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน แนวทางการพัฒนา คือ 1) จัดการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา 2) จัดการประชุมและจัดกิจกรรมเพื่อระดมความคิดและสร้างความเข้าใจร่วมกันในการพัฒนาวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา 3) แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดทำานโยบายเป้าหมายให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา 4. ด้านการเรียนรู้เป็นทีม แนวทางการพัฒนา คือ 1) จัดการอบรมหรือการประชุมร่วมกัน เพื่อรับฟังแนวความคิดและ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ 2) ร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม 3) จัดกิจกรรมร่วมกันภายในองค์กรเพื่อเสริม สร้างความสามัคคีภายในองค์กร และ 5. ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ แนวทางการพัฒนา คือ 1) มีการจัดทำเอกสารในการรวบรวมข้อมูลที่สำคัญในการพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบและสามารถตรวจสอบ ได้ 2) มีแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาตามมาตรฐานและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่สถานศึกษากำหนด 3) แต่งตั้งคณะกรรมติดตามและตรวจสอบการพัฒนาองค์กร

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
โพธิ์พัฒนชัย น., & คัญทัพ จ. (2022). การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 95–109. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/271
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำากัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ณัชชา บุญประไพ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลของ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

บุษยมาศ สิทธิพันธ์. (2559). ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

มินตรา อินต๊ะไชย. (2559). แนวทางการพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนอนุบาลพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, เชียงราย.

รติกร พุฒิประภา. (2560). องค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านลานแหลม (สรนุวัตรราษฎร์อุทิศ). การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

วรุตม์ แสงเครือสุข. (2560). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการดำเนินการส่งเสริมบุคลากรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนนันทนวิทย์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ.

สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2563). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ พจน์กล่องกระดาษ.

สุรัตน์ ดวงชาทม. (2559). การพัฒนาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้: กรณีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด., มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สุรีย์พร บุญถนอม. (2560). องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

อรัญ ร่วมสุข. (2557). การส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, กาญจนบุรี.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Senge, P.M. (1990). The fifth discipline. The art practice of the learning rganization. New York: Doubleday.