ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Main Article Content

ธนกร สร้อยสวรรค์
ศุภธนกฤษ ยอดสละ
พนา จินดาศรี
พนา จินดาศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำนวน 341 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การ ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า
ผลการวิจัยพบว่า
1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำาเชิงกลยุทธ์มีความ สัมพันธ์กับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r)=0.824 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ส่งผลต่อ สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาได้ร้อยละ 80.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานคือ Z’y=0.424(ZX4) + 0.215(ZX5) + 0.157(ZX1) + 0.136(ZX3) + 0.092(ZX2)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สร้อยสวรรค์ ธ., ยอดสละ ศ., จินดาศรี พ., & จินดาศรี พ. (2022). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 48–61. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/268
บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก สุกแสง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.

กัลยา อาทรกิจ และรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2559). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

ฉลวย คงแป้น. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนในโครงการโรงเรียน มาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษาจังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 7(2), 41-51.

ชญาดา พันธ์ยาว. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ณษฐ์ ชาญประเสริฐ. (2555). แนวทางการใช้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ต้องตา กรวดนอก. (2556). การศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในกลุ่มเขตพื้นที่กรุงเทพและสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2545). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2554). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

รุ่งนิรัญ พุทธิเสน. (2557). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. บุรีรัมย์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์ เขต 2.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุวิทย์ ครึกกระโทก. (2555). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาทีมี่ต่อผลลัพธ์ทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์, 23, 216-229.

อรุณี อัตกลับ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. (2548). Competency dictionary. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Dess, G.G. & Miller, A. (1993). Strategic management. (Int’l Ed.). Singapore: McGraw Hill.

Hitt, M.A., Ireland, R.D. & Hoskisson, R.E. (2007). Strategic management: Competitiveness and globalization. Ohio: Thomson/South Western.

Horder, A. (2010). Change, Complexity, Competition. [Online]. Available: https://andrewhorder.com/change-complexity-competition [2021, December 20].

Ivancevich, J.M., Konopaske, R. & Matteson, M.T. (2008). Organizational behavior and management (8th ed.). Boston: McGraw-Hill.

Johnson, G. & Scholes. K. (2003). Exploring Corporate Strategy. Hemel Hempstead: Prentice Hall.