การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

วรวัชร วรรณสุทธิ์
มนตรี วงษ์สะพาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ใน เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอน และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 โรงเรียนสตรีศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ 2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา และ 3) แบบวัดความพึงพอใจที่มีผลต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.02/89.14 80/80 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ มีทักษะการแก้ปัญหาทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}) = 4.78, S.D. = 0.38)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566. จาก http://academic.obec.go.th.

ไกยสิทธิ์ อภิระติง. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนออนไลน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา จังหวัดนครปฐม.

ณัฎฐพร คุ้มครอง. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาเศรษฐศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธานินทร์ ผะเอม. (2558). ทิศทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566. จากhttps://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8309.

มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา. (2566). เส้นทางอนาคตการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : ภาคีเพื่อการศึกษาไทย.

ฤดีรัตน์ แป้งหอม. (2559). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(4). 278-293.

มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา. (2566). เส้นทางอนาคตการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : ภาคีเพื่อการศึกษาไทย.

วริศรา อ้นเกษ และวิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2560). การสร้างและหาประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(2). 285-296.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). เอกสารเผยแพรการก่ออาชญากรรมในเด็ก. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566. จาก http://www.nso.go.th/sites.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). แนวคิดเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566. จาก https://planning2.mju.ac.th/goverment/.