การศึกษาความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาครูระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Main Article Content

ศศิธร อินตุ่น
อรกมล สุวรรณประเทศ

บทคัดย่อ

การออกแบบการเรียนรู้ส่งผลให้นักศึกษามีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัยนี้ใช้แบบ ก่อนทดลองศึกษากลุ่มเดียว วัดครั้งเดียวมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการออกแบบการ เรียนรู้ 2) ศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และ3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครูระดับ บัณฑิตศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมบริการวิชาการ โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง คือนักศึกษาครูระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่ ลงทะเบียนเรียนวิชา LMS 6401 การเรียนรู้สำาหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 จำานวน 14 คน เครื่องมือ การวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ 2) แบบประเมินความ สามารถในการจัดการเรียนรู้ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาครูระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมบริการวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเกณฑ์การประเมินแบบแยกประเด็น
ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาครูระดับบัณฑิตศึกษามีความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ และจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อการบริการ วิชาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อค้นพบแสดงให้เห็นว่าการออกแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม บริการวิชาการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการ จัดการเรียนรู้ได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อินตุ่น ศ., & สุวรรณประเทศ อ. (2022). การศึกษาความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาครูระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 212–227. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/289
บท
บทความวิจัย

References

กิตติพร ปัญญาภิญโญผล, อัญชลี ตนานนท์ และ สิริพร จันทวรรณ,. (2548). รูปแบบการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

“ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562, ” (19 เมษายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนพิเศษ 68 ง. หน้า 19-20.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงชัย ยืนยงคีรีมาศ. (2557). คู่มือการบูรณาการพันธกิจ ปีการศึกษา 2557. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.camt. cmu.ac.th/eqa/NewsFile/QANews412016143955.pdf

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2562). การออกแบบกิจกรรมและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยรังสิต,13(1), 166-178.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประภัสสร วงษ์ดี และเจริญชัย วงศ์วัฒนกิจ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนผ่านกระบวนการวิจัย ในชั้นเรียนของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 13(2):157-171.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง.(2560). การพัฒนาความสามารถด้านการออกแบบและการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาด้วยวิธีการสังเกตการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด และการเขียนบันทึกสะท้อนคิดของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(2), 176-189.

พิชิต ฤทธ์จรูญ. (2562). เกณฑ์การให้คะแนน: เครื่องมือสำหรับครูเพื่อประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เที่ยงตรงและยุติธรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 12(1), 1-16.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (12 พฤศจิกายน 2564), แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570). สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จาก http://www.plan.cmru.ac.th/documents/univ/PLAN_2565-2570.pdf

รินรดี พรวิริยะสกุล. (2554). การวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการศึกษาผ่านการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรวณี ชัยเชาวรัตน์ ชาริณี ตรีวรัญญู และอัมพร ม้าคะนอง. (2561). การเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์, 46(4), 318-338.

รสริน เจิมไธสง และสาลี ทองธิว. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถ ำในการออกแบบการสอนอย่างไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ของนักศึกษาครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 26-34.

ลลิตา ธงภักดี และสิทธิศักดิ์ จุลศิริพงษ์. (2561) .การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครราชสีมาเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 โดย ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วารสารชุมชนวิจัย, 12(1), 139-153.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2552). ห้องเรียนกลับทาง: ห้องเรียน มิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2556, จากเอกสารประกอบการประชุมผู้บริหารโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 จาก http://www.addkutec3.com/

สมจินดา ชมพูนุท และวรรณเพ็ญ อินทร์แก้ว. (2560) .การบูรณาการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลเลือกสรร สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน. วารสารพยาบาลตำารวจ, 9(1), 24-36.

Similar Articles

You may also start an advanced similarity search for this article.