การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

วัลลภา สานา
ประภาษ เพ็งพุ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การเขียน สะกดคำไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เพื่อศึกษาทักษะการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองรังสิต สังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษา สุโขทัย เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน ได้กลุ่มตัวอย่างมาโดยวิธีการ สุ่มอย่างเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อประกอบแบบฝึกทักษะ การเขียนสะกดคำา เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD 2) แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่องมาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการเรียนรู้ แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD และ 3) แบบทดสอบทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่องมาตราตัวสะกด ไม่ตรงตามมาตรา สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าสถิติ t-test Dependent
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1.แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง การเขียนสะกดคำาไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการเรียนรู้ แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่า E1/E2 เท่ากับ 77.38/78.50 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำาหนดไว้คือ 75/75 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. นักเรียนมีทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการเรียน รู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จึงสรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะและการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สามารถช่วยพัฒนาทักษะ การเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนได้ เนื่องจากการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิค STAD เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนการสอนภาษาไทยให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สานา ว., & เพ็งพุ่ม ป. (2022). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 167–179. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/276
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

คำขวัญ ชูเอียด. (2554). แบบฝึกทักษะการเขียนตัวสะกดมาตรา กก กด กบ สำาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลักสูตรภาษาอังกฤษ. สารนิพนธ์ ศศ.ม.(การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคตรินทรวิโรฒ.

จิรนันท์ กุญชะโมรินทร์. (2558). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านออกเสียงและเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบเกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จุติพร เวฬุวรรณ. (2559). รายงานผลการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) ประกอบแบบฝึกทักษะอ่านเขียนเรียนภาษา ราชาธิราชกลุ่มการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 6(1), 93-100.

ดาราณี โพธิ์ไทร. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

ประทีป แสงเปี่ยมสุข. (2546). กระบวนการกลุ่มปฏิบัติมิติหนึ่งของการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: ปกรณ์ศิลป์พริ้นติ้ง.

ปาลิตา อิธิตา. (2563). การสร้างแบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านมูเซอ. การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พจนีย์ บุญสว่าง. (2558). การพัฒนากิจกรรมแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ที่ส่งเสริมความสามารถในการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

พลวัฒน์ ไหลมูน. (2560). การศึกษาวิเคราะห์คำไทยที่มักเขียนผิด. วารสารมนุษยศาสตร์, 24(2), 318-343.

ไพทูลย์ มูลดี. (2546). การพัฒนาแผนและแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยสารคาม.

มะลิ อาจวิชัย. (2540). การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด แม่กน แม่กด และแม่กบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

โรงเรียนบ้านหนองรังสิต. (2564). แผนปฏิบัติงานประจำปีโรงเรียนบ้านหนองรังสิต. สุโขทัย: กลุ่มงานบริหารโรงเรียนบ้านหนองรังสิต

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชา สัมมนาหลักสูตรและการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

วีระ ไทยพานิช. (2555). การออกแบบและพัฒนาระบบการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำาแหง.

สังวาล์ จันทร์เทพ. (2562). การใช้แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดพรหมวิหาร อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(1), 23-40.

สุภจิต คงสุวรรณ. (2550). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.