ผลของการเล่านิทานพื้นบ้านอีสานร่วมกับการเสริมแรงทางบวก ที่มีต่อพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

ปรัชญานันต์ ทองกลม
พัชรินทร์ เสรี
ปนัดดา ธนเศรษฐกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) พฤติกรรมเอื้อสังคมของเด็กชั้นประถมศึกษา กลุ่มที่ได้รับการเล่านิทานพื้นบ้านอีสาน กลุ่มที่ได้รับการเสริมแรงทางบวก และกลุ่มที่ได้รับการเล่านิทานพื้นบ้านอีสานร่วมกับการเสริมแรงทางบวก 2) พฤติกรรมเอื้อสังคมของเด็กชั้นประถมศึกษาก่อนและหลังได้รับการเล่านิทานพื้นบ้านอีสาน 3) พฤติกรรมเอื้อสังคมของเด็กชั้นประถมศึกษา ก่อนและหลังได้รับ การเสริมแรงทางบวก 4) พฤติกรรมเอื้อสังคมของเด็กชั้นประถมศึกษา ก่อนและหลังได้รับการเล่านิทาน พื้นบ้านอีสานร่วมกับการเสริมแรงทางบวก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ใน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-4 ในโรงเรียนบ้านบัววัด จำนวน 31 คน (กลุ่มตัวอย่างที่ 1) โรงเรียนบ้านแมดคำลือชา จำนวน 18 คน (กลุ่มตัวอย่างที่ 2) และโรงเรียนชุ มชนบ้านศรีไค จำนวน 21 คน (กลุ่มตัวอย่าง ที่ 3) รวมเป็นจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผน กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านอีสาน จำนวน 10 แผน 2) ชุดการเสริมแรงทางบวก 3) แผนกิจกรรมการ เล่านิทานอีสานร่วมกับการเสริมแรงทางบวก 4) แบบวัดพฤติกรรมเอื้อสังคมสำาหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ 1 ได้รับกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านอีสาน กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ได้รับการเสริม แรงทางบวก และกลุ่มตัวอย่างที่ 3 ได้รับกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านอีสานร่วมกับการเสริมแรงทางบวก เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยมีรูปแบบการศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการสุ่มและวัดก่อน-หลังการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ Wilcoxon Matched-pairs signed rank test และ Kruskal-Wallis test
ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลอง คะแนนพฤติกรรมเอื้อสังคมของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการ เล่านิทานพื้นบ้านอีสานร่วมกับการเสริมแรงทางบวก ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการเล่านิทานพื้นบ้าน อีสาน และกลุ่มที่ได้รับการเสริมแรงทางบวก แต่กลุ่มที่ได้รับการเล่านิทานพื้นบ้านอีสานมีความแตกต่าง จากกลุ่มที่ได้รับการเสริมแรงทางบวกเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมเอื้อสังคมหลังทดลองของทุกกลุ่มตัวอย่าง สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ทองกลม ป., เสรี พ., & ธนเศรษฐกร ป. (2022). ผลของการเล่านิทานพื้นบ้านอีสานร่วมกับการเสริมแรงทางบวก ที่มีต่อพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 110–123. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/272
บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2557). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิดา ลิ้มสุวรรณ. (2555). พัฒนาการตลอดช่วงชีวิตมนุษย์ วัยเด็กและวัยรุ่น. ใน: มาโนช หล่อตระกูล, ธนิตา หิรัญเทพ, นิดา ลิ้มสุวรรณ, บรรณาธิการ. ตำาราพฤติกรรมศาสตร์ทางการแพทย์.

ปิยาภรณ์ กังสดาร. (2555). ผลของการจัดกิจกรรมโดยใช้เรื่องราวทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมของเด็กอนุบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพิมล ดานะ. (2556). ผลของกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือและเทคนิคการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(2), 82-95.

รสสุคนธ์ แนวบุตร, ศรีกัญภัสสร์ รังสีบวรกุล. (2557). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 1-11.

วันดี ละอองทิพรส. (2540). ความสัมพันธ์ของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่เอื้อต่อสังคม และพฤติกรรมที่เอื้อต่อสังคมของเด็กประถมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

สมพงษ์ จิตระดับ, อัญญมณี บุญซื่อ. (2551). หลักสูตรสิทธิเด็กและการวางแผนท้องถิ่นเพื่อเด็กและเยาวชน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2562). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาดา พันธุ์รัตน์. (2558). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากการสังเกตสำาหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12 (ฉบับปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยเดว ทรีปาตี และคณะ. (2556). โครงการศึกษาสภาวการณ์ต้นทุนชีวิตนักเรียนมัธยมทั่วประเทศ. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 52(1), 36-42.

Cullen, K. (2559). เจาะจิตวิทยาเด็ก. วิมล กมลตระกูล, ผู้แปล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก.

Mussen, P., Eisenberg, N. (1977). Roots of caring sharing and helping: the development of prosocial behavior in children. USA: W.H. Freeman and Company.