การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4

Main Article Content

ธนศักดิ์ เจริญธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) ศึกษา สภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชา เคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุกูลนารี สังกัดสำานักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน โดยการกลุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินตรวจสอบความเหมาะสม ขององค์ประกอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมิน ความเหมาะสมของรูปแบบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียน การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามลักษณะของกระบวนการวิจัย และพัฒนาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) การคิดอุปนัย 2) การคิด นิรนัย 3) การตั้งคำาถาม 4) การตีความ 5) การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น 6) การประเมินข้อโต้แย้ง มีผล การประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. สภาพทั่วไปและสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ครูผู้สอนวิชาเคมีส่วนมากพยายามจัดการเรียนรู้วิชาเคมี แต่นักเรียนยังมีพฤติกรรมที่ไม่ส่งเสริม การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมี วิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) ขั้นเผชิญปัญหา 2) ขั้น รวบรวมข้อมูล 3) ขั้นบ่มเพาะความคิด 4) ขั้นปฏิบัติ 5) ขั้นลงข้อสรุป และ 6) ขั้นการวัดและประเมิน ผล เรียกว่า PDCPCM Model มีประสิทธิภาพ 75.25/73.46
4. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิด อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน 2) การคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วย แบบปกติ 3) ความพึงพอใจต่อการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เจริญธรรม ธ. (2022). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 62–79. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/269
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา โลหการก และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 12(1), 35-47.

กุณฑรี เพ็ชรทวีพรเดช และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(2), 24-32.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำากัด.

ฉันชัย จันทะเสน. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิดทฤษฎีและการนำาไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์ (1991) จำากัด.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง แอนด์พับลิสซิ่ง.

ทิศนา แขมมณี. (2554). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ เดอมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนัชชา นวนกระโทก และคณะ. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ II ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และจิตวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(2), 94-108.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2551). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนอิงมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลักขณา สริวัฒน์. (2549). การคิด. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วุฒิ ถนอมวิริยะกุล. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำานักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2557). ผลประเมิน

สถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน รอบสาม (พ.ศ. 2554-2558).

สำานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก

ในการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำา. (2547). 9 วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Anderson, T.P. & RomisZowski, A.J. (1997). Instructional development paradigms. Englewood Cliffs, NJ: Education Technology Publications.

Arends, R.I. (1997). Classroom instruction and management. New York: McGraw Hill.

Brown, James W., Lewis, Richard B., Harcleroad, Fred F. (1983). AV. Instruction technology, media and method. New York: McGraw-Hill.

Bruning, R.H., Schraw, G.J., Norby, M.M. (2011). Cognitive psychology and instruction (5th ed.). Boston, MA: Pearson.

De Bono, Edward. (1985). Six thinking Hats. London: Penguin Book.

De Bono, Edward. (1976). Teaching thinking. London: Temple Smith.

Dick, W. & Carey, L. (1996). The Systematic design of instruction. 4th ed. New York HarperCollins College Publishers.

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E model. The Science Teacher, 70(6), 56-59.

Elliott, Brett M. (1999). The Influence of an Interdisciplinary Course on Critical Thinking Skills. Dissertation for the Degree of Doctor of Philosophy, University of North Texas, Denton, Texas.

Gagne, R.M. & Briggs, A.M. (1979). Principles of instructional design. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Gerlach, V.S. & Ely, D.P. (1971). Teaching and media: A systematic approach. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Glaser, Robert. (1965). Toward a behavioral science base for instructional design. In: R. Glaser (Ed.). Teaching machines and programmed instruction, II: data and directions. Washington: Department of Audiovisual Instruction, National Education Association.

Joyce, B., Weil, M. & Calhoun, E. (2011). Models of teaching. 9th ed. Boston, MA: Pearson Education Inc.

Kemp, J.E. (1977). Instructional design: A plan for enit and course development. Califormia: Fearon-Pitman Pullishers, Inc.

Klausmeier, H.J. & Ripple, R.E. (1971). Learning and human abilities: Educational psychology. 3rd ed. New York: Harper and Row.

Remley, T.D. (2002). Foreword-special issue: Legal and ethical issues in school counseling. Professional School Counseling. Retrieved from http://find articles.com/p/articles/mi_m0KOC/is_1_6/ai_93700933/?tag=rbxcra.2.a.22.

Tyler, R.W. (1950). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: University of Chicago Press.

Vishwanath, H.N. (2006). Model of teaching in environmental education. Discovery Publishing House: New Delhi.