รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยพายัพในยุคสังคมวิถีใหม่

Main Article Content

เกศินี วุฒิวงศ์
ดารินทร์ เหมะวิบูลย์
พีรนุช ลาเซอร์
เมตตา พรวรรณะศิริเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยพายัพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามรูปแบบการเรียนรู้ของวาร์ค เวอร์ชั่น 7.0 (VARK Learning Style version 7.0) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร้อยละ 75.51 และมีรูปแบบการเรียนรู้แบบเดี่ยว ร้อยละ 24.49 ซึ่งในรูปแบบการเรียนรู้แบบเดี่ยว ผู้เรียนส่วนใหญ่ เรียนรู้ได้ดีผ่านการลงมือปฏิบัติ ร้อยละ 46.66 รองลงมาได้แก่ การเรียนรู้ผ่านการอ่านหรือเขียน ร้อยละ 29.17 ผ่านการฟังร้อยละ 25.00 และ ผ่านการมอง ร้อยละ 4.17
ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้อมูลสำคัญในการออกแบบการสอนให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียน ของผู้เรียนในยุคสังคมวิถีใหม่ที่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน ผู้สอนควรใช้การสอนหลายรูปแบบ ในการสอนแบบออนไลน์ เพื่อให้สอดคล้องกับความถนัดในการรับข้อมูลของผู้เรียน และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาผลของการใช้วิธีการสอนที่ หลายหลายหรือการใช้สื่อประสมสำหรับการเรียนแบบออนไลน์สำหรับผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลาก หลายต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อสัมฤทธิ์ผลในการเรียนแบบออนไลน์ของผู้เรียน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วุฒิวงศ์ เ., เหมะวิบูลย์ ด., ลาเซอร์ พ., & พรวรรณะศิริเวช เ. (2022). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยพายัพในยุคสังคมวิถีใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 23–35. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/266
บท
บทความวิจัย

References

การศึกษา. (22 ตุลาคม 2564). ในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/การศึกษา

เก็จกนก เอื้อวงศ์, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, นงเยาว์ อุทุมพร, กุลชลี จงเจริญ, และ ฐิติกรณ์ จารึกศิลป์. (2564). รายงานการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2565 จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1834-file.pdf

จณิสตา กองคำ, อัจฉรา เฉลิมเกียรติ, และกิติศักดิ์ สมบุญ. (2564). รูปแบบของการวัดและประเมินผลการเรียนออนไลน์วิชาปฏิบัติการในยุคโควิด-19: กรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(4), 33-44.

จงกลณี ตุ้ยเจริญ, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, รำไพ หมั่นสระเกษ, อิสราวรรณ สนธิภูมาส และทรงสุดา หมื่นไธสง. (2563). รูปแบบการเรียนรู้แบบวาร์คของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยบรมราชชนนีขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 29(6), 1073-1085.

โชคภิรักษ์ เถื่อนมี. (23 กรกฎาคม 2564). สำรวจชีวิต นิสิต นักศึกษา ยุคโควิด-19 ประสบการณ์ในรั้วมหาวิทยาลัยที่หายไป. เวิร์คพ้อยทูเดย์. เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://workpointtoday.com/freshy-university/

ทิศนา แขมมณี. (2551). ลีลาการเรียนรู้-ลีลาการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไทพับลิก้า. (2564, 14 มกราคม). สำรวจผลกระทบหลังโควิด-19 จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564 จากhttps://thaipublica.org/2021/01/exploringthe-effects-of-covid-19-the-turning-point-of-world-education/

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2564). ผลกระทบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา: ข้อเสนอแนะสำาหรับการนำไปปฏิบัติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(3), 170-182.

บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2563). แนวทางการเปิด-ปิดภาคเรียนและการสอนชดเชย ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://moe360.blog/2020/05/09/

บีสุดา ดาวเรือง, สรเดช ครุฑจ้อน, และ อนิราช มิ่งขวัญ. (2561). กลไกการปรับเหมาะสำหรับการ

จัดรูปแบบการเรียนรู้แบบสัดส่วนตามรูปแบบ VARK. การประชุมวิชาการการประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 14. เชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2562 จาก https://www.researchgate.net/profile/BeesudaDaoruang/publication/325805460

บุญเตือน วัฒนกุล, ศรีสุดา งามขำ และกัลยา งามวงษ์วาน. (2559). ความแตกต่างของรูปแบบการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(1), 54-61.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2564). ความท้าทายในระบบร่างกาย สมอง และการรับรู้ ณ ขอบแดนใหม่แห่งการเรียนรู้ของเด็กไทย: ยุควิถีชีวิตปกติใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(4), 7-21.

พิลาวัลย์ จันทร์กอง. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนในภาวะวิกฤตโควิด-19 (Covid-19) ด้วยรูปแบบออนไลน์ (Online) ผ่าน Google Classroom รายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนแม่จันวิทยาคม. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2562 จาก http://mwk.ac.th/wp-content/uploads/2021/11/wijai1_64.pdf

มนธิชา ทองหัตถา. (2563). สภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศโรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 5(1), 43-52.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และ จรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.

ศักดิ์คเรศ ประกอบผล. (2563). การวิเคราะห์ผู้เรียน: ลีลาการเรียนรู้. ครุศาสตร์สาร, 14(2), 1-14.

ศุภวิดี แถวเพีย, พรรณิภา ทอณรงค์ และเสาวลักษณ์ วิชัย.(2560). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยบรมราชชนนีขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(2), 227-235.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนของศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2562 จากhttp://www.ccs1.go.th/gis/eoffice/57000001tbl_datainformation/20200703174943JQaUHUy.pdf

สุทธิดา จำรัส. (2563). อาจารย์จะสอนออนไลน์อย่างไรให้ปัง. [Webinar]. วิทยาลัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2562 จาก https://www.lifelong.cmu.ac.th/clip_play.php?clip_list_id=96ce3d71d6f9e6d70d1a22fb3f7e204e

HRNOTE. (2563). เรียนรู้เจนเนอร์เรชั่นอัลฟา (Gen Alpha) เพื่อเตรียมรับมือกับตลาดแรงงานในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2562 จากhttps://th.hrnote.asia/tips/190805-generation-alpha/

Leite, W., Svinicki, M.D., Shi, Y. (2010). Attempted validation of the scores of the VARK: Learning styles inventory with multitrait–multimethod confirmatory factor analysis models. Education and Psychological Measurement, 70(2), 323-339.

VARK Learn Limited. (2021). The VARK Modality. Retrieved May 2, 2021, from https://vark-learn.com/introduction-to-vark/the-%20vark-modalities/

VARK Learn limited. (2022). Using VARK in online learning. Retrieved January 3, 2022, from https://vark-learn.com/vark-and-online-learning/

Zain, N.N.Md., Tamsir, F., Ibrahim, N.A., & Poniran, H. (2019). VARK learning styles towards academic performance among students of private University in Selangor. International Journal of Modern Trends in Social Sciences, 2(10), 1-12.