แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

ธเนศ น้อยดี
ฐิตินันท์ ด้วงสุวรรณ
ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินงานชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู จำนวน 655 คน ซึ่ง ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยง 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการดำาเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยการจัดประชุมสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร และครูในสถานศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ปัญหาการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน ด้านที่มีปัญหาสูงสุด คือ การวางแผนการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในสถานศึกษา ด้านการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล และด้านการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาด้านที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ การสร้างทีมและการรวมกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในสถานศึกษา
2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ คือ 1) ด้านการวางแผน การดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในสถานศึกษา ควรจัดทำแผนงานการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการ เรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา โดยผู้บริหารมีการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ 2) ด้านการสร้างทีมและ การรวมกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในสถานศึกษา ผู้บริหารส่งเสริมการมีภาวะผู้นำทางวิชาการให้ แก่ครูเปิดโอกาสให้ครูได้แสดงออกทางความคิดในการทำงานร่วมกัน 3) ด้านการขับเคลื่อนชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา ผู้บริหาร ครู ตัดสินใจร่วมกันในการปฏิบัติงานเพื่อความสำเร็จตาม วิสัยทัศน์ที่มีร่วมกัน 4) ด้านการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ครูมีการรายงานให้ผู้บริหารสถานศึกษา ทราบผลการประเมินการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา 5) ด้านการรายงาน ผลการดำเนินการ ผู้บริหารรายงานผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ต่อ สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นทุกภาคเรียน ทุกปีการศึกษาอย่างชัดเจน เป็นระบบ สามารถค้นคว้าและตรวจสอบได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูชาติ พวงสมจิตร์. (2560). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนำมาใช้ในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(1), 34-41.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี แย้มกสิกร. (2559). ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ: ความท้าทายต่อการเปลี่ยนตนเองของครู Professional Learning Community: Challenges in Self-Development of Teachers. การประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2559 “การวิจัยนวัตกรรมการเรียนรู้และการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”. 39-46 กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(3), 392-406.

วนิดา ภูวิชัย (2562). การพัฒนาแนวทางดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วาสนา ทองทวียิ่งยศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศกลวรรณ สินประเสริฐ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วารสารคณะศึกษาศาสตร์.

วัชรพร แสงสว่าง กาญจน์ เรืองมนตรี. (2563). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 330.

สิริรักษ์ นักดนตรี. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60110

เสถียร อ่วมพรหม. (2560). แนวทางการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ professional learning community: plc. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. ผู้นำสถานศึกษากับการสร้างโรงเรียนแห่งการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2560, จาก http://suthep.ricr.ac.th.

สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.