การสร้างชุดนวัตกรรมการออกเสียงแบบโฟนิกส์เพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษา

Main Article Content

ธีราภรณ์ พลายเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดนวัตกรรมการออกเสียงแบบโฟนิกส์ให้มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดนวัตกรรมการ ออกเสียงแบบโฟนิกส์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อชุดนวัตกรรมการออกเสียง แบบโฟนิกส์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตดุสิต จำนวน 9 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดจันทรสโมสร โรงเรียนวัดเทว ราชกุญชร โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร โรงเรียน วัดราชผาติการาม โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร โรงเรียนสุโขทัย และโรงเรียนวัดสวัสดิวารีสีมาราม จานวน ำ 85 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชุด นวัตกรรมการออกเสียงแบบโฟนิกส์ จำนวน 4 บทเรียน แบบประเมินคุณภาพของชุดนวัตกรรมการออก เสียงแบบโฟนิกส์ แบบทดสอบการอ่านออกเสียง และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดนวัตกรรมการ ออกเสียงแบบ โฟนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดนวัตกรรมการออกเสียงแบบโฟนิกส์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.89/81.00 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการออกเสียงภาษาอังกฤษหลังจากใช้ชุดนวัตกรรมการออกเสียงแบบโฟนิกส์สูงกว่าก่อนใช้ชุดนวัตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดนวัตกรรมการออกเสียงแบบโฟนิกส์ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.68, S.D.=0.09).

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนนท์รัฐ นาคทั่ง, สุทธิรักษ์ สุวรรณเดชา และ ชนาภา ตรีวรรณกุล. (2560). การพัฒนาบทเรียนระบบเสียงและสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษเพื่อยกระดับทัศนคติและความสามารถทางการออกเสียงภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้สูงขึ้น. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี.

นิเวศน์ วงศ์ประทุม และประยูร บุญใช้. (2558). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียประกอบการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีชาร์ป 1 กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน, 7(18), 155-164.

บินยากร นวลสนิท. (2563). Phonics นั้นสำคัญไฉน. สืบค้น 30 มิ.ย. 2563, จาก https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/Phonics

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประสาท อิศรปรีดา. (2546). สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา. กาฬสินธ์: ประสานการพิมพ์.

มาริสา พันเปรม. (2561). การประเมินสื่อการสอนโฟนิกส์สำาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตหนองแขม. ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร

ลัดดาวัลย์ มิตรกูล และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสานเทคนิคโฟนิกส์และการสอนภาษาแบบองค์รวมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารนาคบุตร ปริทรรศน์, 11(1), 22-30.

ศราวุธ เพาะเจาะ. (2562). การพัฒนาการออกเสียงท้ายคำกริยาภาษาอังกฤษช่องที่ 2 เติม -ed โดยใช้รูปแบบการฟังเสียงจากเจ้าของภาษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคคู่ตรวจสอบ. วิจัยในชั้นเรียน. เชียงใหม่. โรงเรียนดอยเต่าพิทยาคม.

ศิตา เยี่ยมขันติถาวร. (2554). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

สำานักการศึกษา. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2564-2569). กรุงเทพฯ: ส่วนนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา.

สำานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุชาดา อินมี. (2556). การพัฒนาการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยสื่อโฟนิกส์โปสเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 6(3), 141-152.

อติพร ปานพุ่ม และวงกต ศรีอุไร. (2557). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์เรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ประชุมวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 10, 425-430

อาจารี ศิริรัตนศักดิ์. (2552). กรณีศึกษาการพัฒนาความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ชุดการสอนจอลลี โฟนิคส์. ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อินทิรา ศรีประสิทธิ์. (2550). การใช้อินเตอร์เน็ทในการสอนโฟนิคส์ (Phonics) ประสมประสานกับการเรียนในห้อง จะช่วยให้เยาวชนไทยอ่านภาษาอังกฤษเก่ง. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 ด้านเทคโนโลยีการสอนภาษาอังกฤษ (ICTTL 2007). วันที่ 9-10 ตุลาคม 2550.

Heilman, A. W. (1968). Phonics in proper perspective. CE Merrill Publishing Company.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology,

(140), 55.