ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และ 2) สร้างสมการพยากรณ์ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญญา คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 121 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์และแบบวัดปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผล การวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยทั้ง 6 ด้าน มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ 2) ความรู้พื้นฐานเดิม (X1) เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ (X2) ความ ตั้งใจเรียน (X3) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (X6) สามารถพยากรณ์ความสามารถในการแก้โจทย์ ปัญหาคณิตศาสตร์ (Y) ได้ร้อยละ 72.1 จากผลการวิเคราะห์สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูป คะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Ŷ = -7.903+2.557X1+2.560X2+2.112X3+3.214X6
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Ẑ = 0.335Z1+2.864Z2+2.6432Z3+3.698Z6
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุฑามาศ กันทา และบัณฑิตา อินสมบัติ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดพิจิตร ; Causal Factors Affect the Ability of Solving Mathematical Problem of Prathomsuksa 6 Students of Phichit Province. Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities, 4(6), 41-56.
เฉลิมสิน สิงห์สนอง. (2559). การศึกษาปัจจัยด้านจิตพิสัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ในรายวิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.
พจนีย์ มา สุข. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ต้น โรงเรียนสาธิตพิบูลบำเพ็ญ มหาวิทยาลัยบูรพา. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(3), 11-25.
วชิรภรณ์ เทียบเพชร. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลและแนวทางการส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
สุภมาศ ถานโอภาส. (2555). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
สำารวย หาญห้าว (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำาแหง. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 142-158.
Bloom, B.S. (1976). Haman Characteristics and School Learning. McGraw- Hill Book Company: New York.
Charles, Randal, & Lester, Frank k. (1982). Teaching problem solving: What, why & how. California: Dale Seymour.
Diaz and Hernando H. (2009). Verbal language as a mathematical tool. Education y educadores, 12(3), 13-31
Halton, Boyd. (1964, January). Motivation and General Mathematics Students. Mathematic Teachers, 57, 20-25.
Pajares, F., & Kranzler, J. (1995). Role of Self-Efficacy and General Mental Ability in Mathematical Problem-Solving: A Path Analysis.
McClelland, D.C. (1961). Human motivation. New York: Cambridge University.
Mehrens, William A. and Lehman, Irvin J. (1975). Measurement and evaluation in education and psychology. (2nd ed). New York: Holt Rinehart and Winston, Inc.