การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจเรื่อง การอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

กุลภัทร สอิ้งรัมย์
อดิศร บาลโสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการ เขียนเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจเรื่อง การอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถม ศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง จำนวน 11 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (Dependent Samples t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 2) ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เรื่อง การอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC มีค่าเฉลี่ย 4.52 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สอิ้งรัมย์ ก., & บาลโสง อ. (2022). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจเรื่อง การอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(2), 56–66. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/248
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย เรื่อง สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่ง อ่านเร็ว ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการ สกสค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กรมวิชาการ. (2541). กลุ่มงานวิจัยและประเมินผลคุณภาพการศึกษาการสอนตามสภาพที่แท้จริง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมวิชาการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กฤษณา พงษ์วาปี. (2550). การศึกษาความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยและทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรูปแบบการสอน CIRC. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

จิรภา จันทพัฒน์. (2550). ผลการใช้วิธีสอนแบบ CIRC ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและความสามารถ ในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ดาราณี โพธิ์ไทร. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคําที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รสสุคนธ์ มากเอียด. (2558). การใช้ชุดการสอนพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

วริษา จันทร์ลี. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ระดับการศึกษาขั้นปฐมวัยและขั้นพื้นฐาน. บุรีรัมย์: โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง.

สุขจิตร มีชื่อ. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียน วิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ CIRC. วิทยานิพนธ์. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.