การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชานวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย

Main Article Content

กัลยกร ภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานรายวิชา นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการ คิดแก้ปัญหาระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนรายวิชานวัตกรรมการศึกษาปฐมวัยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานรายวิชา นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.50 แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิด แก้ปัญหา มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนรายวิชา นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย เพื่อนำาไปใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ กลุ่มเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
1.ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานรายวิชานวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 82.39/80.29 แสดงว่า ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ วิจัยเป็นฐานรายวิชานวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2.นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ภักดี ก. (2022). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชานวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(2), 45–55. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/247
บท
บทความวิจัย

References

กีรตาพันธุ์ ฝาชัยภูมิ. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อาหารและโภชนาการการคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. (2562, 6 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง.

จุฑา ธรรมชาติ. (2552). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานใน รายวิชาการวิจัยทางการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี: ปัตตานี.

จุฑา ธรรมชาติ. (2555). การวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 18(1): 183-214.

ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ. (2562). รูปแบบการเรียนการสอนด้วยยุทธศาสตร์สะท้อนอภิปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน: นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(2): 1-16.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2547). หลักการสอนแบบเน้นการวิจัย (Research-Based Teaching) ในระดับ

อุดมศึกษา ในการเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). เล่ม 135 ตอนที่ 38 ก 13 ตุลาคม 2561.

วิทวัส เพ็ญภู่, เสรี ชัดแช้ม, และพุฒิชาดา จันทะคุณ. (2563). การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน: ทักษะที่สำคัญอันดับแรกของศักยภาพมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์สาร: Journal of Educational Studies, 14(1), 253-267.

วิสาลักษณ์ สิทธิ์ขุนทด. (2555). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชา BUS304 ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ. รายงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศศิธร นาคดิลก. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการคิดแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้และไม่ใช้การแก้ปัญหาปลายเปิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

เสาวภา วิชาดี. (2554). การศึกษาในกระบวนทัศน์ใหม่: การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. วารสารนักบริหาร, 31(3): 26-30.

Astbury, K. (2006). Fresh Theatre of the first empire: Enhancing research-based learning. Warwick Interactions Journal, 28.

Healey, M. (2005). Linking research and teaching to benefit student learning. Journal of Geography in Higher Education, 29(2): 183-201.