การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบโครงงานกลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพเพื่อจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา ระหว่างปี 2555-2563 มีประเด็น การสังเคราะห์ คือ 1) ด้านข้อมูลพื้นฐาน 2) ด้านรูปแบบโครงงานที่นำามาใช้ในการวิจัย 3) ด้านวิธีดำเนิน การวิจัย 4) ด้านแนวทางการทำวิจัย 5) ด้านการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ใช้ประชากรทั้งหมด 20 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลคุณลักษณะวิทยานิพนธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านข้อมูลพื้นฐาน ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของ คณะศึกษาศาสตร์ 2) เป็นงานวิจัยในสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน 3) งานวิจัยส่วนใหญ่ เป็นงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4) ปีที่ทำงานวิจัย ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยในปี 2555 2) ด้านรูปแบบโครงงาน ที่นำมาใช้ในการวิจัย โครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้า ทดลอง 3) ด้านวิธีการดำเนินการวิจัย 1) งานวิจัยส่วนใหญ่เลือกใช้กลุ่มตัวอย่าง 2) ใช้การสุ่มอย่างง่าย 3) ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนา 4) การนำเสนอ กรอบแนวคิดในการวิจัยโดยใช้ทฤษฎีของคนอื่น 5) มีการอ้างอิงงานวิจัยภายในประเทศ 6) ส่วนใหญ่อ้างอิงจากเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ภายในประเทศ 7) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน 8) ส่วนใหญ่ไม่ระบุการหาคุณภาพเครื่องมือ 9) วิธีที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือส่วนใหญ่เป็นการหาประสิทธิภาพชุดการสอน 10) ใช้สถิติพื้นฐานในการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย 11) พื้นที่เก็บข้อมูลในการวิจัยส่วนใหญ่เป็นห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 12) ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัย ที่มีการทดสอบสมมติฐาน และ 13) ผลการวิจัยส่วนใหญ่เป็นไปตามสมมติฐาน 4) ด้านแนวทางการ ทำวิจัย เป็นการนำเสนอรูปแบบโครงงานที่ออกแบบขึ้นมาใหม่ในรูปของแผนการจัดการเรียนรู้ 5) ด้าน การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ 1) นำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 2) นำความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปแก้ไขปัญหาการเรียนวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยีและต่อยอดเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กวิสรา แป้นจันทร์. (2560). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้งานบ้าน และงานเกษตร รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ผลงานทางวิชาการฉบับเผยแพร่. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที 5). กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติง.
เพชรรัตน์ นามมั่น. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนตลาดสำารอง.การวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนตลาดสำรอง. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.
ระพิน โพธิ์ศรี. (2549). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
รังศิมา ชูเทียน และทศพร แสงสว่าง. (2559). การพัฒนาการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร. (2555). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชา LSC 305 การจัดการผู้ขายปัจจัยการผลิตสัมพันธ์: (รายงานวิจัย) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ลัดดา ภู่เกียรติ. (2544). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานงานที่ครูประถมทำได้.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สาฮะแอนด์ซันพริ้นติ้ง.
วราภรณ์ วงศ์หาญ. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่ออาชีพ เรื่อง การใช้สูตรคำนวณและฟังก์ชันสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ. การวิจัยในชั้นเรียนวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ.
วิมล ศรีสุวรรณรัตน์ และมาฆะ ทิพย์ศรี. (2542). พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.